561 Views |
จากผลการสำรวจขององค์การอนามัยโลกประจำภาคพื้นยุโรป พบว่า ประชากรในยุโรปเปลี่ยนมารับประทานอาหารจากพืชเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ และปัญหาทางจริยธรรมว่าด้วยเรื่อง
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสวัสดิภาพสัตว์ โดยรูปแบบการบริโภคอาหารในบางประเทศกำลังเริ่มเปลี่ยนแปลง ขณะที่การบริโภคอาหารจากพืชในอีกหลายประเทศนั้นกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการศึกษาถึงผลกระทบต่อสุขภาพของการบริโภคอาหารแบบมังสวิรัติและอาหารวีแกนในระยะยาวยังคงไม่มีหลักฐานชัดเจนมากนัก
In the WHO European Region, more and more people are shifting towards plant-based diets for reasons relating to health, as well as to ethical considerations about climate change and animal welfare. In some countries changes in dietary patterns are only just emerging, while in others this trend is increasing rapidly. Nevertheless, the evidence on the long-term health impacts of vegetarian and vegan diets remains incomplete.
การบริโภคอาหารจากพืชกับการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
หลายประเทศทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) คิดเป็นร้อยละ 71 (41 ล้านคนต่อปี) โดยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้เสียชีวิตในกลุ่มนี้ เสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งโรคที่พบบ่อยที่สุด 4 โรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด เสียชีวิต 17.9 ล้านคน รองลงมาคือโรคมะเร็ง (9 ล้านคน)
โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (3.9 ล้านคน) และโรคเบาหวาน (1.6 ล้านคน) เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบจากทั้ง
6 ภูมิภาคขององค์การอนามัยโลกแล้วพบว่า ภูมิภาคยุโรป แบกรับภาระการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคในกลุ่ม NCDs มากที่สุด ซึ่งคิดเป็นเกือบร้อยละ 90 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยโรคอ้วนและภาวะน้ำหนักตัวเกิน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคในกลุ่มนี้ และส่งผลกระทบต่อประชากรในวัยผู้ใหญ่ของยุโรป
ถึงกว่าร้อยละ 59 และในวัยเด็ก ร้อยละ 29 ส่วนในระดับโลกนั้นพบว่า การเสียชีวิตของประชากรวัยผู้ใหญ่
หนึ่งในห้ามีความเกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยมีสาเหตุสำคัญดังต่อไปนี้
· การบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณน้อย มีความเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพ และเพิ่มความเสี่ยงใน
การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ในหนึ่งวันควรบริโภคผักและผลไม้ให้ได้อย่างน้อย 400 กรัม (5 ส่วน) ไม่รวมมันฝรั่งและพืชหัวประเภทแป้ง
· โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของอัตราการตายทั้งหมดในยุโรป จากข้อมูลโดยรวมจะเห็นว่า การรับประทานอาหารมังสวิรัติและวีแกน มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
· โรคเบาหวานและความอ้วน ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติและวีแกนมักจะมีค่า BMI ที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานอาหารแบบปกติ และมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์น้อย และผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์เลยจะมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานน้อยกว่าด้วย
NCD Prevention and Plant‑based Diets
NCDs are responsible for 71% of all premature deaths (41 million deaths a year) globally. Of these, 80% are due to the four most common NCDs: cardiovascular diseases account for 17.9 million deaths, followed by cancers (9 million), chronic respiratory diseases (3.9 million) and diabetes mellitus (1.6 million). Of the six WHO regions, the European Region has the greatest burden of
NCD-related morbidity and mortality, at almost 90% of all deaths. Overweight and obesity are a major NCD risk factor and affect over 59% of adults and 29% of children in the European Region. Globally, one in every five deaths in adults is associated with unhealthy diet for the following reason.
· Low fruit and vegetable consumption is linked to poor health and increased risk of NCDs. WHO recommends consuming at least 400 g (five portions) of fruits and vegetables (excluding potatoes and other starchy tubers) per day.
· Cardiovascular disease causes more than half of all deaths across the European Region. Overall, evidence suggests that vegetarian and vegan diets have a protective effect against coronary heart disease.
· Vegetarians and vegans generally have a lower BMI than otherwise comparable non-vegetarians. Research suggests that low meat and non-meat eaters have a lower risk of diabetes.