34 Views |
เส้นทางการประหยัดพลังงานสู่ห่วงโซ่อุปทานอาหารที่ยั่งยืน
The Path to Energy Conservation for a Sustainable Food Supply Chain
By: ดร. เจษฎา ทิพย์มณเฑียร
Jedsada Tipmontian, Ph.D.
Logistics Management (International Program)
International Academy of Aviation Industry
King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang
jedsada.ti@kmitl.ac.th
อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่ใช้พลังงานสูง เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การแปรรูป การขนส่ง ไปจนถึงการกระจายสินค้า ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องมองหาแนวทางในการประหยัดพลังงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางในการดำเนินงานเพื่อประหยัดพลังงานตลอดโซ่อุปทาน มีขั้นตอนสำคัญที่ต้องพิจารณา ดังนี้
1. การกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และเป้าหมายที่ชัดเจน
องค์กรควรกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และเป้าหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนเข้าใจและร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ โดยนโยบายที่ชัดเจนจากผู้บริหารระดับสูงจะส่งสัญญาณไปยังผู้บริหารในระดับต่างๆ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนแนวทางการประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิผล
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์
การออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่จะช่วยลดการใช้พลังงานได้ อาทิ การเลือกวัตถุดิบที่ใช้พลังงานในการผลิตต่ำ การลดกระบวนการแปรรูปที่สิ้นเปลืองพลังงาน และการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. การออกแบบโซ่อุปทาน
การออกแบบโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพสามารถลดการใช้พลังงานได้หลายด้าน เช่น
การเลือกแหล่งวัตถุดิบ สถานที่ผลิต และศูนย์กระจายสินค้า: การจัดหาแหล่งวัตถุดิบในพื้นที่ใกล้โรงงานผลิตเพื่อช่วยลดระยะทางในการขนส่ง ซึ่งจะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงและพลังงานได้ เช่น การสร้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่อยู่ใกล้โรงงานแปรรูปอาหารเพื่อช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งในระยะไกล เป็นต้น การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการคาดการณ์และลดของเสีย: การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อวิเคราะห์ปริมาณวัตถุดิบที่ต้องการใช้เพื่อช่วยลดการสูญเสียพลังงาน และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
การใช้พลังงานหมุนเวียนในโซ่อุปทาน: การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในโรงงานและกระบวนการผลิตเพื่อลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล
4. การจัดหา จัดเก็บ และการทวนสอบคุณภาพวัตถุดิบ
การเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง ก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิตจะช่วยลดของเสียจากวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ และลดการสูญเสียพลังงานจากการแปรรูปที่ไม่จำเป็น โดยการใช้ระบบการรับรองคุณภาพวัตถุดิบแบบดิจิทัลจะช่วยให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังวัตถุดิบและสามารถเลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิต โดยการจัดเก็บวัตถุดิบในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะช่วยลดการสูญเสียพลังงาน เช่น การใช้ระบบทำความเย็นที่มีการควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะ การใช้เทคโนโลยีระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติในคลังสินค้าเพื่อรักษาคุณภาพของวัตถุดิบและลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น รวมถึงการเลือกซื้อวัตถุดิบหรือเครื่องจักรจากซัพพลายเออร์ที่มีแนวทางปฏิบัติในด้านการประหยัดพลังงาน เช่น บริษัทที่มีโครงการส่งเสริมเกษตรกรในการใช้แนวทางเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงลดการใช้ทรัพยากรน้ำและพลังงานในการเพาะปลูก เป็นต้น
1. Establishing Clear Policies, Strategies, and Goals
Organizations should define clear policies, strategies, and goals for energy conservation to ensure alignment and collaboration among employees. Additionally, fostering cooperation with business partners is essential. A well-defined policy from top management signals commitment across all levels, driving effective energy-saving initiatives.
2. Product Design
Energy efficiency starts with product design by selecting raw materials with lower energy requirements, reducing energy-intensive processing steps, and using environmentally friendly packaging.
3. Supply Chain Design
A well-structured supply chain can optimize energy consumption through various strategies:
Sourcing raw materials near production facilities: Sourcing raw materials from locations near manufacturing facilities helps reduce transportation distances, ultimately lowering fuel and energy consumption. For example, establishing livestock farms close to food processing plants can significantly cut long-distance transportation costs.
Integrating technology for forecasting and waste reduction: Artificial intelligence (AI) and big data analytics allow businesses to accurately predict raw material needs, reduce energy waste, and improve production processes for maximum efficiency.
· Incorporating renewable energy sources within the supply chain: Utilizing solar energy in factories and production processes reduces dependence on fossil fuels.
4. Raw Material Sourcing, Storage, and Quality Assurance
Using high-quality raw materials reduces waste and unnecessary energy consumption during processing. Implementing digital quality assurance systems enables traceability and optimal material selection. Efficient storage conditions further conserve energy, for instance, intelligent temperature-controlled refrigeration and automated warehouse temperature control systems to maintain raw material quality while minimizing energy usage, as well as sourcing from energy-efficient suppliers, such as agricultural producers employing sustainable farming practices to reduce water and energy consumption.