ความบริสุทธิ์มาก่อน: การควบคุมความปลอดภัยสำหรับทุเรียนไทยที่ปราศจากการปนเปื้อน Authenticity First: Safety Control for Contaminant-Free Thai Durian

35 Views  | 

ความบริสุทธิ์มาก่อน: การควบคุมความปลอดภัยสำหรับทุเรียนไทยที่ปราศจากการปนเปื้อน Authenticity First: Safety Control for Contaminant-Free Thai Durian

ความบริสุทธิ์มาก่อน: การควบคุมความปลอดภัยสำหรับทุเรียนไทยที่ปราศจากการปนเปื้อน
Authenticity First: Safety Control for Contaminant-Free Thai Durian


  


By:   รศ.ดร. กฤษกมล ณ จอม
Assoc. Prof. Kriskamol Na Jom, Ph.D.
Department of Food Science and Technology
Diploma Program in Beverage Technology and Management
Faculty of Agro-Industry
Kasetsart University
kriskamol.n@ku.th

 

วิธีการตรวจวิเคราะห์สาร BY2 ในทุเรียน
          สาร Basic Yellow 2 หรือ BY2 ที่รู้จักกันในชื่อ Auramine O เป็นสารเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ที่ใช้ในการย้อมสีวัสดุต่างๆ ซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดให้สารนี้เป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 2B ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ ทั้งนี้ การใช้สาร BY2 ในทุเรียนไทยเกิดจากการที่ผู้ประกอบการบางรายใช้สารชนิดนี้เพื่อจุ่มผลทุเรียนให้เปลือกมีสีสวยงาม ทดแทนการใช้สีผสมอาหารหรือขมิ้น เนื่องจากความต้องการของตลาดที่นิยมเปลือกสีเขียว ซึ่งสาร BY2 สามารถให้สีได้ตรงกับความต้องการของตลาดและมีราคาต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม การใช้สารนี้ในอาหารเป็นสิ่งที่ไม่ปลอดภัยและผิดกฎหมาย

         การตรวจวิเคราะห์สาร BY2 ในตัวอย่างทุเรียน สามารถทำได้ด้วยวิธีการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่มีความแม่นยำและไวต่อการตรวจจับสารในปริมาณเล็กน้อย โดยทั่วไปจะมีวิธีหลักๆ ดังนี้

1. วิธีสเปกโตรสโกปี (UV-Visible Spectroscopy) ที่ตรวจวัดการดูดกลืนแสงในช่วงคลื่นรังสียูวี (UV) และแสงขาว (Visible; VIS)

2. วิธีสเปกโตรฟลูออเรสเซนซ์ (Fluorescence Spectroscopy) ที่ตรวจวัดการเรืองแสงของสารเมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงในช่วงความยาวคลื่นเฉพาะ

3. วิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (High-Performance Liquid Chromatography; HPLC)

4. วิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงควบคู่กับการวัดมวลน้ำหนักของสาร (Liquid Chromatography-Tandem Mass Spectrometry; LC-MS/MS)

เทคนิคการตรวจวิเคราะห์แคดเมียมในทุเรียน
1. การตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโตรสโกปี (Atomic Absorption Spectroscopy; AAS) สำหรับตรวจวัดปริมาณแคดเมียมโดยอาศัยการดูดกลืนแสงของอะตอมโลหะเมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงที่ความยาวคลื่นเฉพาะ

2. การตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องอุปกรณ์แมสสเปกโตรเมตรี (Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry; ICP-MS) โดยใช้พลาสมาเหนี่ยวนำด้วยคลื่นความถี่สูงในการแตกตัวสารให้เป็นไอออน จากนั้นจึงวัดมวลของไอออนเพื่อตรวจหาแคดเมียม

3. การตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคโวลแทมเมตรี (Anodic Stripping Voltammetry; ASV) เป็นการใช้ไฟฟ้าในการสะสมแคดเมียมบนอิเล็กโทรด จากนั้นแยกแคดเมียมออกโดยการปรับศักย์ไฟฟ้าแล้ววัดกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้น

4. การตรวจด้วยเทคนิค X-Ray Fluorescence (XRF) โดยตรวจจับแคดเมียมด้วยการวัดการปล่อยรังสีเอกซเรย์จากอะตอมของแคดเมียมเมื่อถูกกระตุ้นด้วยรังสี แต่เทคนิคนี้มีความไวต่ำ จึงไม่เหมาะสำหรับการตรวจสารที่มีระดับต่ำมาก


BY2 Analysis Methods in Durian

          Basic Yellow 2 (BY2), also known as Auramine O, is a synthetic organic chemical used for dyeing various materials. The WHO classifies BY2 as a Group 2B carcinogen, meaning it is possibly carcinogenic to humans. In Thailand, the use of BY2 in durians originates from some producers who dip the fruit in this substance to enhance the color of the peel, making it more visually appealing. This is done as an alternative to food coloring or turmeric, as the market favors durians with green peels. Since BY2 can provide the desired color at a lower cost. However, using BY2 in food is unsafe and illegal.

          The analysis of BY2 in durian samples can be conducted using highly accurate laboratory methods that are sensitive to detecting trace amounts of the substance. The main methods commonly used include:

1. UV-Visible Spectroscopy – Measures light absorption in the ultraviolet (UV) and visible (VIS).

2. Fluorescence Spectroscopy – Detects the fluorescence emitted by the substance when stimulated by light at specific wavelengths.

3. High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) 

4. Liquid Chromatography-Tandem Mass Spectrometry (LC-MS/MS) – Combines liquid chromatography with mass spectrometry.

Techniques for Cadmium Analysis in Durian

1. Atomic Absorption Spectroscopy (AAS) – This technique measures cadmium concentration by analyzing the absorption of light by metal atoms when excited at a specific wavelength.

2. Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS) – This technique uses high-frequency inductively coupled plasma to ionize the sample and then measures the mass of the ions to detect cadmium.

3. Anodic Stripping Voltammetry (ASV) – This electrochemical method involves depositing cadmium onto an electrode, then stripping it off by adjusting the electrical potential and measuring the resulting current.

4. X-Ray Fluorescence (XRF) – This method detects cadmium by measuring the X-ray emission from cadmium atoms when stimulated by radiation. However, due to its low sensitivity, it is not suitable for detecting very low levels of cadmium.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and