276 Views |
By: ดร. ดลพร ว่องไวเวช
Donporn Wongwaiwech, Ph.D.
Faculty of Science and Agricultural Technology
Rajamangala University of Technology Lanna Tak
donporn@rmutl.ac.th
สุภัตรา สิริสถิรสุนทร
Suphattra Sirisathirasunthon
Faculty of Science and Agricultural Technology
Rajamangala University of Technology Lanna Tak
suphattra.si@rmutl.ac.th
‘คราฟต์เบียร์’ เป็นเบียร์ชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยม ซึ่งผู้ผลิตจะต้องใช้ฝีมือและความพิถีพิถันในการสร้างสรรค์เบียร์ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะ รวมถึงต้องมีความใส่ใจในการคัดเลือกส่วนผสม โดยคราฟต์เบียร์เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งชาวอเมริกันมักนิยมต้มเบียร์เพื่อดื่มกันเองที่บ้าน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า Homebrew และหากมีการผลิตในโรงเบียร์ที่มีขนาดเล็กจะถูกเรียกว่า Craft Brewery ในปัจจุบันได้มีผู้ผลิตคราฟต์เบียร์ในไทยกว่า 100 ราย ซึ่งหากผู้ผลิตมีการจำหน่ายคราฟต์เบียร์ให้เป็นที่รู้จักแล้ว มักจะมีการหาโรงงานผลิตในต่างประเทศเพื่อนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย โดยจะมีการตีตราและเสียภาษีอากรที่เป็นเบียร์นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเบียร์เหล่านี้จะเรียกว่า “เบียร์ไทยนำเข้า” โดยการผลิตคราฟต์เบียร์นั้นจะต้องมีวัตถุดิบที่สำคัญอย่าง ข้าวซึ่งนำมาผลิตเป็นมอลต์ ฮอปส์ที่ช่วยเพิ่มรสขมของเบียร์และยังนำมาใช้ในการปรับสมดุลรสหวานของมอลต์ ยีสต์ที่เป็นส่วนสำคัญในการผลิตแอลกอฮอล์ และน้ำ นอกจากนี้ยังได้มีการปรุงแต่งกลิ่นรสของคราฟต์เบียร์ด้วยวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ผลไม้ ดอกไม้ กาแฟ และช็อกโกแลต รวมไปถึงเปลือกกาแฟหรือเชอร์รีกาแฟ ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟ โดยมีสารสำคัญที่มีประโยชน์ อาทิ สารประกอบฟีนอลิก ได้แก่ กรดคลอโรจีนิก (Chlorogenic Acid; CGA) และเอพิคาเทชิน (Epicatechin) โดยเอพิคาเทชินมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ดังนั้น ทางผู้ผลิตสามารถนำเชอร์รีกาแฟมาใช้เป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่จะช่วยเพิ่มคุณประโยชน์และเสริมกลิ่นรสในผลิตภัณฑ์คราฟต์เบียร์ได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาวัตถุดิบล้นตลาดและเป็นการยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นของไทยสู่ผลิตภัณฑ์คราฟต์เบียร์ที่มีอัตลักษณ์สูง อันจะถือเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่สำคัญในการที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไทยในอนาคต
“Craft beer” is a type of beer that has gained significant popularity. Craft beer production demands skill and meticulous attention to create a unique product including selection of ingredients. “Craft beer” has started to gain widespread popularity, particularly in the United States, where Americans often brew beer at home, a practice known as Homebrew. When produced in small breweries, it is referred to as Craft Brewery. Craft beer production in Thailand started around 5-6 years ago, initially with illegal home production and distribution, known as "underground beer." Currently, there are over 100 craft beer producers in Thailand. Once brewers gain recognition, they often seek production facilities outside Thailand to legally import their beer back to the country. These beers are labeled and taxed as imported beer and are known as "imported Thai beer." Craft beer is an alternative alcoholic beverage for those seeking unique flavors. Essential ingredients for craft beer production such as grains typically used and processed into malt, hops enhancing the bitterness of beer and balancing the sweetness of malt, yeast source of produces alcohol, and water. Additionally, craft beer flavors are often enhanced using locally sourced ingredients such as fruits, flowers, coffee, and chocolate. This includes coffee husks or coffee cherries, which are byproducts of the coffee bean production process. Coffee cherries contain beneficial compounds, such as phenolic compounds like chlorogenic acid (CGA) and epicatechin. Epicatechin has antioxidant properties that help reduce the risk of various diseases. Therefore, producers can use coffee cherries as an ingredient to enhance the nutritional benefits and flavor profile of craft beer. This not only helps address the issue of surplus agricultural products but also elevates local Thai ingredients into unique craft beer products. This approach can serve as an important soft power strategy to add value to Thai beverage products in the future.