ลูทีนและซีแซนทีน: เบื้องหลังในการดูแลสุขภาพสมองและความจำในวัยสูงอายุ A Possible Role for Lutein and Zeaxanthin in Cognitive Function for Elderly

185 Views  | 

ลูทีนและซีแซนทีน: เบื้องหลังในการดูแลสุขภาพสมองและความจำในวัยสูงอายุ A Possible Role for Lutein and Zeaxanthin in Cognitive Function for Elderly

ลูทีนและซีแซนทีน: เบื้องหลังในการดูแลสุขภาพสมองและความจำในวัยสูงอายุ
A Possible Role for Lutein and Zeaxanthin in Cognitive Function for Elderly


   


By:  Vita Barentz Co., Ltd.
info@vitabarentz.com


ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดโรคทางระบบประสาท
     หนึ่งในวิธีการป้องกันโรคอัลไซเมอร์นั้น คือ การได้รับสารอาหารที่จำเป็น โดยเฉพาะสารอาหารที่มีส่วนช่วยในกระบวนการออกซิเดชัน (Oxidation) และการอักเสบ (Inflammation) ของร่างกาย ตามที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าการเสื่อมประสิทธิภาพของกระบวนการนี้มีส่วนทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์รวมถึงภาวะ MCI และการรับรู้ที่ลดลง เพราะสมองมีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อการโจมตีจากอนุมูลอิสระ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่มีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างต่ำ มีความเข้มข้นของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty Acids; PUFA) สูง และมีฤทธิ์ในการเผาผลาญสูง ซึ่งการเพิ่มขึ้นของปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน (Lipid peroxidation) และการออกซิเดชันของกรดนิวคลีอิก (Nucleic acid oxidation) จะพบได้ในช่วงเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนี้ ความเครียดจะยิ่งส่งเสริมให้ปฏิกิริยาออกซิเดชันและการอักเสบเพิ่มขึ้นได้ง่ายในผู้สูงวัย ดังนั้น การบริโภคสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านการอักเสบอาจช่วยลดความเสียหายของเนื้อเยื่อประสาท และอาจมีส่วนช่วยอย่างมากในการชะลอการรับรู้และการพัฒนาของโรคทางระบบประสาท ซึ่งจากผลงานวิจัยต่างๆ พบว่าแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) แคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารที่ช่วยลดปฏิกิริยาออกซิเดชันและการอักเสบ จึงทำให้ชะลออาการบกพร่องทางสมองของผู้สูงอายุได้

การศึกษาสารอาหารที่มีผลต่อความสามารถในการรับรู้ของผู้สูงอายุ
     ผลการศึกษาทางระบาดวิทยาชี้ให้เห็นว่า การเสริมสารอาหารประเภทลูทีนและซีแซนทีนจะสามารถรักษาสุขภาพของสมองและความจำได้ โดยลูทีนและซีแซนทีนเป็นแคโรทีนอยด์เพียง 2 ชนิดที่พบได้ในจอประสาทตาเพื่อสร้างเม็ดสีบริเวณจุดภาพชัด (Macular Pigment; MP) และในสมองของมนุษย์ ทั้งนี้ ยังพบว่าลูทีนและซีแซนทีนบริเวณใจกลางจอประสาทตา (Macula) ของไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ (Non-human primates) ก็มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเข้มข้นที่พบในเนื้อเยื่อสมองด้วย ดังนั้น MP จึงสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker) ของลูทีนและซีแซนทีนในเนื้อเยื่อสมองของไพรเมตได้ และยังมีความน่าสนใจที่พบว่าความหนาแน่นของ MP นั้นสัมพันธ์กับความสามารถในการรับรู้รอบด้านของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี โดยการศึกษาในรูปแบบ Double-blinded, placebo-controlled trial ในผู้สูงอายุเพศหญิงด้วยการให้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของลูทีนเพียงอย่างเดียว (12 มก./วัน) กับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีลูทีนผสมกับดีเอชเอ (800 มก./วัน) พบว่าผู้สูงอายุที่รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีลูทีนผสมกับดีเอชเอมีคะแนนหน่วยความจำที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 
Relative Factors in the Development of Neurologic Diseases
     One possible strategy for Alzheimer’s disease prevention is nutrition intervention. There is growing evidence that oxidative and inflammatory damage contribute to the pathogenesis of Alzheimer’s disease, MCI, and age-related cognitive decline. The brain is especially vulnerable to free radical attacks because of its relatively low antioxidant content, high polyunsaturated fatty acid (PUFA) concentrations, and high metabolic activity. Increased lipid peroxidation and nucleic acid oxidation are found early in Alzheimer’s disease. If increases in sensitivity to oxidative stress and inflammation in the aging brain lead to cognitive deficits, interventions using dietary antioxidants and anti-inflammatory agents may delay the extent of oxidative damage to neural tissues. They may have an enormous impact on slowing cognitive development and the development of neurological diseases. The xanthophyll carotenoids, lutein, and zeaxanthin function as both antioxidants and anti-inflammatory agents. Intake of these dietary components may hold promise for cognitive health in the elderly.

Epidemiologic Studies of Dietary Components in Affecting the Elderly’s Cognitive Health
     Epidemiologic studies suggest that dietary lutein and zeaxanthin may benefit in maintaining cognitive health. Among the carotenoids, lutein and zeaxanthin are the only two that cross the blood-retina barrier to form macular pigment (MP) in the eye. They also preferentially accumulate in the human brain. Lutein and zeaxanthin in the macula from non-human primates were found to be significantly correlated with their concentrations in matched brain tissue. Therefore, MP can be used as a biomarker of lutein and zeaxanthin in primate brain tissue. This is of interest given that a significant correlation was found between MP density and global cognitive function in healthy older adults. Additionally, in a 4-month, double-blinded, placebo-controlled trial in older women that involved lutein supplementation (12 mg/day) alone or in combination with DHA (800 mg/day), verbal fluency scores improved significantly in the DHA, lutein, and combined-treatment groups. Memory scores and learning rate improved significantly in the combined-treatment group, which also showed a trend toward more efficient learning.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and