242 Views |
อาหารเฉพาะโรค: โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่ไม่อาจมองข้าม
Therapeutic Diet: Essential Medical Nutrition Therapy for Patients
By: วรัญญา เตชะสุขถาวร
Varanya Techasukthavorn
Department of Nutrition and Dietetics
Faculty of Allied Health Sciences Chulalongkorn University
Varanya.te@gmail.com
“Let food be thy medicine, and medicine be thy food” หรือ “ใช้อาหารเป็นยา และใช้ยาเป็นอาหาร” ซึ่งเป็นคำกล่าวของฮิปโปเครติสหรือบิดาแห่งการแพทย์ชาวกรีกที่มีมานานนับพันปี เมื่ออาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ทุกคนจำเป็นจะต้องได้รับเพื่อความอยู่รอดในแต่ละวัน อาหารจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและบำบัดโรค ซึ่งการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมีส่วนช่วยในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ขณะเดียวกันเมื่อเกิดโรคแล้วอาหารก็มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพ ดังนั้น อาหารบำบัดโรคหรืออาหารเฉพาะโรค (Therapeutic Diet) จึงเป็นอาหารที่ได้รับการออกแบบมาให้เหมาะสมต่อสภาวะของโรคต่างๆ ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การจัดหาอาหารเฉพาะโรคสำหรับผู้ป่วยในแต่ละโรคเพื่อให้ได้รับพลังงาน รวมถึงสารอาหารได้อย่างครบถ้วนและเหมาะสม เนื่องจากอาหารและโภชนาการที่ดีมีส่วนช่วยในการบำบัดโรคและควบคุมอาการ หรือชะลอการดำเนินไปของโรคต่างๆ ได้ไม่มากก็น้อย
“Let food be thy medicine, and medicine be thy food,” famously declared Hippocrates, the renowned father of Greek medicine. With a history spanning over a thousand years, this wisdom still holds true today. Food stands as one of the five requisites for human survival. It serves as a cornerstone in disease prevention and therapy. A balanced and nutritious diet acts as a shield against various illnesses. Moreover, even after an illness has manifested, food remains instrumental in health enhancement, so Therapeutic diets are meticulously formulated to address specific pathological conditions, aiming to deliver precise nutritional support. The overarching objective is to provide tailored therapeutic diets to distinct patient groups, ensuring optimal intake of essential energy and nutrients. Embracing health-conscious dietary practices can aid in managing and controlling pathological conditions, potentially alleviating symptoms and delaying their progression.
โดยกองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย พ.ศ. 2560 ได้กำหนดคำจำกัดความและข้อควรระวังของอาหารเฉพาะโรคไว้ 6 ประเภท ได้แก่ อาหารเบาหวาน อาหารจำกัดไขมัน อาหารจำกัดโปรตีน อาหารเพิ่มโปรตีน อาหารจำกัดโซเดียม และอาหารกากใยต่ำ นอกจากนี้ ยังมีอาหารอีกหลายประเภทที่ใช้บำบัดและฟื้นฟูโภชนาการให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะโรคด้วย แม้ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม ”อาหารเฉพาะโรค” ตาม ได้แก่ อาหารจำกัดฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม อาหารปลอดเชื้อ อาหารดัดแปลงเนื้อสัมผัส รวมไปถึงอาหารทางสายให้อาหารซึ่งในประเทศไทยนิยมอยู่ 2 รูปแบบคือ อาหารชนิดปั่นผสมและอาหารสำเร็จรูป
In line with Thailand's food safety hospital policy. In 2017, the Health Administration Division of Thailand's Ministry of Public Health established definitions and precautions for six distinct types of therapeutic diets like diabetes diet, fat-resistant diets, protein-resistant diets, high-protein diet, sodium-resistant diets, and low-residue diets. Furthermore, numerous other dietary approaches offer therapeutic benefits and can optimize the nutrition of patients with specific pathological conditions, despite not being classified as "therapeutic diets" such as phosphorus- and potassium-restricted diet, low-bacterial diet, texture modified diet, including tube-feeding diet, in Thailand, can be categorized into the following two types like blenderized diet and commercial formulas.
จะเห็นได้ว่า อาหารมีส่วนสำคัญในการดูแลโภชนาการของผู้ป่วย โดยการดัดแปลงอาหารทั้งสารอาหารและเนื้อสัมผัสจากการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านโภชนาการคลินิก สรีรวิทยา และพยาธิวิทยาของร่างกายมนุษย์ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบอาหารเฉพาะโรคให้เหมาะสมต่ออาการเจ็บป่วยต่างๆ อันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น
In summary, diet serves as a keystone in preserving the nutritional well-being of patients. The adaptation of food, nutrients, and textures stems from the comprehensive understanding of clinical nutrition, human physiology, and human pathology. This knowledge is instrumental in crafting disease-specific therapeutic diets, ultimately enhancing the quality of life for patients.