ปศุสัตว์ OK: ยกระดับมาตรฐานเนื้อสัตว์ปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค "Livestock OK" Project: Development of Meat Safety Standard for Consumers

405 Views  | 

ปศุสัตว์ OK: ยกระดับมาตรฐานเนื้อสัตว์ปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค "Livestock OK" Project: Development of Meat Safety Standard for Consumers

By:   สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ (สพส.)
Bureau of Livestock Standards and Certification
Department of Livestock Development
certify1@dld.go.th


  


หลักเกณฑ์สถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ที่สามารถเข้าร่วมโครงการ “ปศุสัตว์ OK”

โครงการปศุสัตว์ OK เป็นโครงการที่ให้การรับรองสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 4 ข้อ ได้แก่

1. เนื้อสัตว์ที่นำมาจำหน่ายจะต้องผลิตจากฟาร์มที่ได้รับรองมาตรฐาน GAP จากกรมปศุสัตว์
2. เนื้อสัตว์ที่นำมาจำหน่ายต้องผลิตในโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถูกสุขลักษณะและสุขอนามัย
3. สถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ต้องสะอาดและถูกสุขลักษณะ
4. สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งที่มาต้นทางได้


ก้าวต่อไปของโครงการ “ปศุสัตว์ OK”

     จากการที่แนวโน้ม รูปแบบ และสถานการณ์การบริโภคสินค้าปศุสัตว์ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องพัฒนาหลักเกณฑ์การรับรองให้ครอบคลุมสินค้าปศุสัตว์อื่นๆ มากยิ่งขึ้น เช่น นม น้ำผึ้ง และสินค้าปศุสัตว์แปรรูป อาทิ ลูกชิ้น ไส้กรอก เต้าหู้ เนย ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการบริโภคและจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จจากสินค้าปศุสัตว์ จึงเกิดการพัฒนาหลักเกณฑ์การรับรองสถานที่จำหน่ายอาหารที่ใช้วัตถุดิบจากสินค้าปศุสัตว์ และร่วมมือกับทางผู้ประกอบการในการจัดทำระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยของสินค้าปศุสัตว์ เพื่อครอบคลุมรูปแบบและความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีการบูรณาการร่วมกับภาคเอกชนในการกำกับดูแลการผลิตสินค้าปศุสัตว์ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตและการบริโภคสินค้าปศุสัตว์ให้ทัดเทียมกับมาตรฐานเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่า สินค้าปศุสัตว์ที่ผ่านการรับรองจากกรมปศุสัตว์นั้น มีมาตรฐานการผลิตที่สะอาด ปลอดภัย เหมาะสมแก่การบริโภค ดังนั้น หากเลือกซื้อสินค้าปศุสัตว์ครั้งใดให้มองหาสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” ทุกครั้ง

Criteria for Meat Retailers that can Participate in the "Livestock OK" Project

The “Livestock OK” Project, is a project that certifies meat retailers, and consists of 4 key criteria:

1. Meat must be produced from GAP farms that certified by the Department of Livestock Development.
2. Meat must be produced from legal slaughterhouses, that are clean and hygienic.
3. Meat retailers must also be clean and hygienic.
4. Meat must allow trace-back to the place of origin source.

Next Steps of the “Livestock OK” Project

     Due to the rapidly changing trends, patterns, and circumstances of the consumption of livestock products, criteria for providing certification must be further developed to cover other livestock products, such as milk, honey, and processed livestock products such as meatballs, sausages, tofu, butter, etc. Additionally, in order to promote the consumption and sale of prepared food from livestock products, the criteria for certifying establishments selling food that use raw materials from livestock products have been developed. Cooperation with entrepreneurs in creating a system to monitor the safety of livestock products is also needed to cover an additional variety of consumers' styles and needs, including the integration with the private sector in regulating the production of livestock products. These factors are expected to raise the production and consumption standards of livestock products to be on par with export standards. Consumers can be confident that livestock products certified by the Department of Livestock Development are produced based on production standards that are clean, safe, and suitable for consumption. Therefore, always look for the "Livestock OK" mark whenever you buy livestock products.


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and