356 Views |
By: จาตุรนต์ บัวเรือง
Jaturon Buarueng
Senior Engineer
Thai-German Institute
crm_dept@tgi.mail.go.th
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่างๆ เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นทั้งในด้านความเร็ว คุณภาพ และต้นทุนการผลิต โดยหนึ่งในนวัตกรรมที่ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมอาหาร คือ การควบรวมระหว่างหุ่นยนต์ (Robot) และระบบสายพานลำเลียง (Conveyor) เข้าไว้ด้วยกัน และอาจมีการติดตั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence; AI) ที่ตัดสินใจได้เอง และการใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation System) ที่สามารถเริ่มทำงานได้ตามโปรแกรมที่วางไว้ โดยระบบทั้งหมดเหล่านี้ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในการทดแทนแรงงานมนุษย์ที่มีการทำงานด้วยคำสั่งเดิมซ้ำๆ ทั้งในรูปแบบที่ซับซ้อนและยืดหยุ่น รวมถึงสามารถปรับเปลี่ยนโปรแกรมให้ทำงานได้อย่างหลากหลาย จึงช่วยยกระดับคุณภาพการผลิตให้มีความปลอดภัย ลดการสัมผัส ลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของเชื้อโรค รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ควบคุมต้นทุน และลดของเสียในกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
เป้าหมายในการลงทุนของผู้ประกอบการที่มักนำระบบออโตเมชันเข้าไปใช้ในโรงงานผลิตอาหาร ได้แก่ กระบวนการแปรรูปอาหาร กระบวนการบรรจุ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการแช่เย็น ระบบน้ำเสีย และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งก่อนที่จะนำระบบเหล่านี้เข้ามาใช้ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเก็บข้อมูลจากเครื่องจักรที่ใช้ผลิต เช่น จำนวนผลผลิตต่อวัน กำลังการผลิตสูงสุด และรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ เพื่อป้อนข้อมูลการผลิตเหล่านั้นเข้าไปในระบบซอฟต์แวร์ รวมถึงกำหนดรูปแบบงานที่ต้องการได้ ในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ระบบออโตเมชันและปัญญาประดิษฐ์ในขั้นตอนการคัดแยกผลผลิตตามน้ำหนักและการนับจำนวนผลได้ก่อนเข้าสู่กระบวนการบรรจุ
It is undeniable that technological advancement has been progressing at a breathtaking rate. As a result, competition in various industries has also been heating up in terms of speed, quality, and production costs. Among these, one of the revolutionary noteworthy innovations in the food industry is the integration between robotics and conveyor systems, that in some cases, may also involve integrating self-thinking artificial intelligence (AI) and pre-programmed automation systems. These systems have been introduced to replace repetitive orders for labor, both complex and flexible tasks. Additionally, their programming can be adapted and modified to work in various applications, thus enhancing the quality of the production process to ensure safety, reduce human contact and contamination risk, increase production efficiency, control costs, and reduce waste throughout the entire process.
Among the common goals of entrepreneurs who invest in implementing automated food production at their production facilities often include food processing, packaging, monitoring, enhancing their refrigeration infrastructure, wastewater systems, and supply chain management. Before introducing these systems, data analysis must be conducted by collecting data from the production facilities, such as the daily number of finished products, maximum production capacity, and desired product type. This important information is then entered into the software system and specifies the desired work format. In this article, we will give an example of integrating automation with artificial intelligence in the product weight sorting process and fruit counting before entering the packaging process.