กฎระเบียบล่าสุดเกี่ยวกับการรีไซเคิลพลาสติกเพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม Latest Regulation Updates on Plastic Recycling for Beverage Sustainability

34 Views  | 

กฎระเบียบล่าสุดเกี่ยวกับการรีไซเคิลพลาสติกเพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม Latest Regulation Updates on Plastic Recycling for Beverage Sustainability

กฎระเบียบล่าสุดเกี่ยวกับการรีไซเคิลพลาสติกเพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
Latest Regulation Updates on Plastic Recycling for Beverage Sustainability

 

  

 

By:  Krones (Thailand) Co., Ltd.

THA-Marketing@krones.com

 
        การใช้พลาสติกรีไซเคิลมีข้อดีหลายประการ เช่น การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก ลดการพึ่งพาทรัพยากรฟอสซิล และช่วยแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม ขณะที่ข้อมูลจาก Plastics Europe1 ระบุว่า ขยะพลาสติกที่ถูกนำมารีไซเคิลในยุโรปมีเพียงร้อยละ 27 เท่านั้น และปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกนำมารีไซเคิลทั่วโลกยังต่ำกว่าตัวเลขดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ปริมาณการใช้พลาสติกรีไซเคิลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการส่งเสริมและการสนับสนุนมาตรการรีไซเคิลจากรัฐบาลทั่วโลก

·        - ภาษีพลาสติกที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2564: บริษัทต้องจ่ายภาษีสำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่ได้ผ่านการรีไซเคิล ในอัตรา 0.80 ยูโรต่อกิโลกรัม ขณะที่ประเทศเยอรมนีได้กำหนดให้เริ่มใช้มาตรการภาษีดังกล่าวในปี พ.ศ. 2568

·        - ข้อกำหนดการใช้วัสดุรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์พลาสติก: ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2568 พบว่าขวดเครื่องดื่ม PET ต้องมีวัสดุรีไซเคิล (rPET) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2573 ได้กำหนดเป้าหมายให้มีวัสดุรีไซเคิล (rPET) เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

         - ระบบมัดจำบรรจุภัณฑ์ (Deposit System) สำหรับขวด PET และกระป๋องเครื่องดื่มจะมีผลบังคับใช้ในทุกประเทศของสหภาพยุโรป ภายในปี พ.ศ. 2572 ภายใต้กฎหมาย Packaging and Packaging Waste Regulation (PPWR)

         - ฝาขวดแบบติดกับบรรจุภัณฑ์ (Tethered Caps) เพื่อให้แน่ใจว่าฝาขวดจะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลในอัตราที่สูงขึ้น

มาตรการระดับนานาชาติ
        - อินเดีย ไทย และเกาหลีใต้ ได้อนุมัติให้มีการใช้พลาสติกรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์อาหาร พร้อมทั้งกำหนดให้มีการตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน เช่น อินเดียกำหนดให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็งต้องมีวัสดุที่รีไซเคิลได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ภายในปี พ.ศ. 25682

        - สหรัฐอเมริกา กรณีรัฐต่างๆ เช่น แคลิฟอร์เนีย ถือเป็นผู้นำในการออกกฎหมายกำหนดโควตาในการใช้ rPET และระบบมัดจำบรรจุภัณฑ์3

        - คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลว่าด้วยมลพิษจากพลาสติกขององค์การสหประชาชาติกำลังพัฒนาข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางกฎหมายในระดับสากลเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติก ภายในปี พ.ศ. 2567

 

        ขณะที่บริษัทเอกชนต่างก็ให้ความสำคัญกับการรีไซเคิลมากขึ้น เช่น หลายบริษัทได้จัดทำโครงการรับคืนบรรจุภัณฑ์ (Take-Back Programmes) เพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุเหล่านั้นจะถูกนำกลับมารีไซเคิล นอกจากนี้ ผู้ผลิตขวด PET บางรายได้เพิ่มสัดส่วนวัสดุรีไซเคิลโดยสมัครใจ และผลิตขวดที่ใช้ rPET 100% แล้ว เนื่องจากกระแสความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน


        As you will know, the use of recycled plastics offers many advantages: It reduces the amounts of CO₂ emitted during production of plastic packaging and the dependence on fossil resources, and it helps combat global littering. The bad news is that there’s still plenty to do because according to Plastics Europe1 only just under 27 per cent of all plastic waste in Europe is at present recycled. The percentage for recycling on a global scale is even smaller. The good news is that numbers are rising, thanks not least to countless regulations introduced by governments all over the world. A variety of legal requirements have been (or are currently being) approved in the EU, such as: 

        - The Plastic Tax enacted in 2021: That is a levy to be paid by companies on non-recycled plastic packaging to the amount of 0.80 euros per kilogram. The scheduled year of introduction in Germany is 2025.

        - Mandatory use of recycled material for plastic packaging: PET beverage bottles, for example, must be made of at least 25 per cent rPET as from 2025, and of at least 30 per cent rPET as from 2030. 

        - A mandatory deposit system for PET beverage bottles and beverage cans is scheduled to be introduced in each EU country as part of the Packaging and Packaging Waste Regulation (PPWR) as from 2029.

        - Tethered caps make sure that a higher number of caps are kept in the cycle of re-usable materials when non-returnable beverage bottles are recycled. 
International Actions Worldwide

        In the past few years, India, Thailand, and South Korea have approved recycled plastics for food contact and formulated some ambitious goals. India, for example, has specified a proportion of 10 per cent recycled materials in rigid plastic packaging2 as from 2025.

        - In the USA, some states like California are leading the way with deposit systems and binding rPET quotas.3

        - The UN’s Intergovernmental Negotiating Committee on Plastics Pollution has been tasked with developing an instrument by the end of 2024, which is to be legally binding on an international scale and aimed at reducing plastic littering worldwide.

        - But companies have also developed a heightened awareness for the need to recycle more material. To give you an example: According to the Fraunhofer Institute, many firms have implemented take-back programmes for their packaging to make sure it is definitely recycled. Some manufacturers of PET bottles have voluntarily increased the target value for recycled content and already produce bottles made of up to 100 per cent rPET – not least because consumer demand for them has grown.

เอกสารอ้างอิง / References

1.https://plasticseurope.org/de/2024/03/19/circular-economy-report/

2.http://foodpackagingforum.org/news/india-new-epr-program-stronger-recycled-plastic-rules-after-push-back

3.http://www.marketplace.org/2022/12/23/california-set-to-enforce-recycled-content-mandates-for-plastic-bottles/

4.https://www.krones.com/en/company/press/magazine/trend/plastics-and-climate-protection.php

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and