32 Views |
เทคโนโลยีการผลิตอาหารแห่งอนาคต: นวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างความยั่งยืน
Future-Forward of Food Technology: Innovation for Boosting Productivity and Building a Sustainable
Translated and Compiled By: รวิพร พลพืช
Rawiporn Polpued
Senior Writer
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com
นวัตกรรมการผลิตอาหารในอนาคตกำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีและการสร้างความสมดุลระหว่างคุณภาพอาหารและความยั่งยืนในกระบวนการผลิตมากขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าของการแปรรูปอาหารไม่เพียงตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับจำนวนประชากรโลกที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอีกด้วย ดังนั้น เทคโนโลยีสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดของเสียและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยรักษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารและสร้างความปลอดภัยต่อการบริโภค
1. เทคโนโลยีเอนไซม์เพื่อเสริมคุณภาพผลิตภัณฑ์
ตลาดเอนไซม์ทรานส์กลูตามิเนสทั่วโลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่าประมาณ 474.1 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเฉลี่ย (CAGR) ร้อยละ 7.4 ต่อปี ทำให้มูลค่าตลาดอาจสูงถึง 967.5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี พ.ศ. 2574 การเติบโตนี้สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของการใช้งานเอนไซม์ในหลากหลายอุตสาหกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
2. การพิมพ์อาหารสามมิติสู่ผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่
เทคโนโลยีการพิมพ์อาหารสามมิติก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากบริษัทอาหารทะเลทางเลือกในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้ก่อตั้งโรงงานผลิตอาหารด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์อาหารสามมิติที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีกำลังการผลิตถึง 60 ตันต่อเดือน โดยได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์แรก คือ “The Filet” หรือเนื้อปลาแซลมอนจากไมโครโปรตีนของเชื้อรา
3. ความปลอดภัยของเทคโนโลยีลำแสงอิเล็กตรอน
เทคโนโลยีลำแสงอิเล็กตรอนเป็นกระบวนการใช้อิเล็กตรอนพลังงานสูงเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร โดยไม่ทำให้เกิดความร้อนและปราศจากการใช้สารเคมี หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นกระบวนการพาสเจอไรซ์แบบเย็น (cold pasteurization) โดยลำแสงอิเล็กตรอนพลังงานสูงที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้มาจากวัตถุกัมมันตภาพรังสี แต่เกิดจากอุปกรณ์เฉพาะทางที่เรียกว่า เครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน ซึ่งอิเล็กตรอนพลังงานสูงจะสามารถทะลุผ่านอาหาร จนเกิดการแตกตัวเป็นไอออนและทำลายดีเอ็นเอของจุลินทรีย์ได้
4. การยับยั้งจุลินทรีย์ด้วยแสงอัลตราไวโอเลต
Far-UV เป็นช่วงของแสงอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่น 222 นาโนเมตร ซึ่งสั้นกว่าแสง UV แบบเดิมที่มักใช้ในอุตสาหกรรม (ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร) โดยถือเป็นเทคโนโลยีอุบัติใหม่ในอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร
Food production innovations are entering a new era, highlighted by the integration of technology and the balance between food quality and sustainability. Food processing advancements address consumers' demands and prepare for population growth in the following years. Consequently, technologies that enhance production efficiency are essential for reducing waste and effectively utilizing resources while preserving nutritional value and ensuring consumer safety.
1. Enzyme technology for enhancing product quality
The global transglutaminase enzyme market is rapidly growing, currently valued at approximately $474.1 million and projected to increase at a CAGR of 7.4%. This growth could elevate the market value to $967.5 million by 2031. Such expansion reflects the increasing enzyme applications across various industries and the development of new products.
2. Creation the alternative products by 3D food printing
The technology of 3D food printing is advancing rapidly, as evidenced by a seafood alternative company in Vienna, Austria, which has launched the world's largest 3D food printing facility. This facility boasts a production capacity of 60 tons per month. The first product is "The Filet," a salmon-analog fillet made from mycoprotein derived from fungi.
3. Safety of electron beam technology
Electron beam technology is a process that utilizes high-energy electrons to extend the shelf life of food without generating heat or using chemical agents, often referred to as cold pasteurization. The High-energy electron beams are produced by specialized equipment known as electron accelerators rather than by radioactive materials. When these electrons penetrate food, they ionize molecules and disrupt the DNA of microorganisms.
4. Inhibition of microorganisms using Far-UV
Far-UV light refers to a specific range of ultraviolet light with a wavelength of 222 nm, which is shorter than the conventional UV light typically used in various industries (254 nm). This emerging technology is gaining application in the food and agriculture sectors.