22 Views |
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Laboratory Safety Towards Sustainable Development Goals
By: วรรณิภา สมผุด
Wunnipa Sompud
Assistant Manager Research and Development
Food Innovation and Packaging Center (FIN)
Chiang Mai University
fininfo.fin@gmail.com
ดร. ชิตาพัณณ์ ใบงิ้ว
Shitapan Bai-Ngew, Ph.D.
Director
Food Innovation and Packaging Center (FIN)
Chiang Mai University
shitapan.fin@gmail.com
นวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างยั่งยืน
ในยุคดิจิทัลเทคโนโลยีสีเขียวและนวัตกรรมต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายต่างๆ แต่ยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ยั่งยืนอีกด้วย ตัวอย่างเช่น
1. ระบบตรวจจับอัจฉริยะ (Smart sensor) โดยใช้เซนเซอร์ตรวจวัดสารเคมีและก๊าซอันตรายที่สามารถวิเคราะห์ระดับความเป็นพิษได้ทันทีและมีการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชันอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ จึงช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถรับรู้และตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที ซึ่งรวมไปถึงระบบระบายอากาศอัจฉริยะที่มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง การกรองสารพิษและสารระเหยอันตราย รวมถึงการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอัตโนมัติ (รูปที่ 2)
2. อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลอัจฉริยะ (Personal Protective Equipment; PPE) เป็นอุปกรณ์สวมใส่เพื่อลดการสัมผัสกับอันตรายที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยในที่ทำงาน เช่น แว่นตานิรภัยที่มีระบบตรวจจับสารเคมี หน้ากากกรองอากาศปรับระดับการกรองแบบอัตโนมัติ หรือถุงมือพิเศษซึ่งเมื่อตรวจพบการรั่วไหลของสารเคมีจะแสดงผลด้วยการเปลี่ยนสีของถุงมือ เป็นต้น
3. เทคโนโลยีการจัดการของเสียอันตราย ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก เช่น ระบบคัดแยกและบำบัดของเสียอัตโนมัติ โดยใช้หุ่นยนต์ในการคัดแยกประเภทของของเสียอันตราย (รูปที่ 3) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสารพิษ รวมถึงเทคโนโลยีการรีไซเคิลที่สามารถแปรสภาพของเสียอันตรายให้กลายเป็นวัสดุที่ใช้ประโยชน์ได้
4. แพลตฟอร์มบริหารความเสี่ยง การนำเอาระบบปัญญาประดิษฐ์และระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เข้ามาใช้ในการคาดการณ์และป้องกันความเสี่ยงเพื่อการวิเคราะห์แนวโน้มอุบัติเหตุและการประเมินความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถคาดการณ์และป้องกันอุบัติเหตุล่วงหน้า พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปรับปรุงความปลอดภัย
5. เทคโนโลยีสีเขียว (Green technology) หมายถึงเทคโนโลยีและกระบวนการต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เช่น การใช้พลังงานทดแทนในห้องปฏิบัติการ การใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนการใช้วัสดุแบบเดิม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การรีไซเคิล และการลดของเสีย เป็นต้น
Leveraging Technology for Sustainable Safety
Advancements in technology are transforming laboratory safety, enabling more sustainable and efficient practices. The integration of smart systems and green technologies not only enhances safety but also supports long-term environmental goals. The article identifies five key areas where innovation is driving progress:
1. Smart Sensors: Intelligent sensors that detect chemical leaks or toxic gas emissions are becoming standard in modern laboratories. These devices provide real-time alerts through connected applications, enabling rapid responses to potential hazards. Coupled with smart ventilation systems, these technologies continuously monitor air quality, filter harmful substances, and regulate environmental conditions such as temperature and humidity.
2. Innovative Personal Protective Equipment (PPE): Smart PPE is revolutionizing workplace safety by incorporating advanced features like chemical-detection goggles, auto-adjusting filtration masks, and color-changing gloves that signal chemical exposure. These innovations not only enhance user safety but also reduce the likelihood of exposure to harmful substances.
3. Automated Hazardous Waste Management: Robotic systems are increasingly used for sorting and treating hazardous waste. Automation reduces human exposure to dangerous materials while increasing efficiency. For example, robotic arms can segregate waste types for appropriate treatment or recycling. Advanced recycling technologies further support sustainability by converting waste into reusable resources.
4. AI-Driven Risk Management: Artificial intelligence and big data analytics are being employed to forecast and prevent accidents. AI platforms can analyze historical data to identify trends, assess ongoing risks, and recommend safety improvements. This proactive approach minimizes the likelihood of incidents and enhances overall safety performance.
5. Green Technologies: Laboratories are adopting eco-friendly solutions such as renewable energy systems, sustainable materials, and waste-reduction strategies. Initiatives include using recyclable materials, minimizing greenhouse gas emissions, and implementing energy-efficient practices. These measures align with broader environmental goals and reduce the ecological footprint of laboratory operations.