คาร์โนซีน: สารอาหารเสริมประสิทธิภาพด้านความจำและบำรุงสุขภาพสมอง Carnosine for Enhancing Memory Performance and Nourishing Brain Health

38 Views  | 

คาร์โนซีน: สารอาหารเสริมประสิทธิภาพด้านความจำและบำรุงสุขภาพสมอง Carnosine for Enhancing Memory Performance and Nourishing Brain Health

คาร์โนซีน: สารอาหารเสริมประสิทธิภาพด้านความจำและบำรุงสุขภาพสมอง
Carnosine for Enhancing Memory Performance and Nourishing Brain Health


  


By:  รศ.ดร. กนิฐพร วังใน
Assoc. Prof. Kanithaporn Vangnai, Ph.D.       
Department of Food Science and Technology
Faculty of Agro-Industry
Kasetsart University
kanithaporn.v@ku.th

สุนิศา กุมพาภัติ
Sunisa Kumphaphat                                       
Department of Food Science and Technology
Faculty of Agro-Industry
Kasetsart University
sunisa.kumph@gmail.com


          คาร์โนซีน (Carnosine) เป็นไดเปปไทด์ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 ชนิด ได้แก่ เบต้า-อะลานีน (β-alanine) และแอล-ฮิสทิดีน (L-histidine) โดยมีสูตรทางเคมีคือ C₉H₁₄N₄O₃ ซึ่งคาร์โนซีนมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหายต่อปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งเชื่อมโยงกับความชราและโรคต่างๆ โดยคาร์โนซีนมีคุณสมบัติต่อต้านการเกิดสารเร่งความชรา (Advanced Glycation End Products; AGEs) เนื่องจากส่งผลโดยตรงซึ่งทำให้ร่างกายและอวัยวะต่างๆ เกิดการเสื่อมสภาพซึ่งสัมพันธ์กับความชรา และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน นอกจากนี้คาร์โนซีนยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อ โดยช่วยชะลอความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อระหว่างการออกกำลังกายอย่างหนัก เพิ่มความทนทาน อีกทั้งยังช่วยลดการอักเสบของอวัยวะภายในร่างกาย จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น

          จากงานวิจัยหลายฉบับให้ผลตรงกันว่าคาร์โนซีนมีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองและระบบประสาทผ่านหลายกลไก ไม่ว่าจะเป็นฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์การต้านการอักเสบ และการป้องกันการเกิดไกลเคชันในร่างกาย ได้แก่ การป้องกันระบบประสาทและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน, การยับยั้งกระบวนการไกลเคชันและป้องกันการเกิด Amyloid Plaques, การเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญพลังงานของสมอง

          คาร์โนซีนพบได้มากในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โดยเฉพาะบริเวณเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของสัตว์ ซึ่งปริมาณของคาร์โนซีนในเนื้อสัตว์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป โดยเนื้อแดง (เนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อแกะ) มีปริมาณคาร์โนซีนสูงกว่าเนื้อสัตว์ปีก ซึ่งในสัตว์ปีกจะพบคาร์โนซีนในเนื้ออกไก่มากกว่าเนื้อน่องไก่ และยังพบสารดังกล่าวในปลาบางชนิด โดยเฉพาะปลาที่ว่ายน้ำเร็ว ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณน้อยกว่าสัตว์บกก็ตาม ทั้งนี้ การรับประทานอาหารที่มีเนื้อไก่ เนื้อวัว และเนื้อหมูจะได้รับปริมาณคาร์โนซีนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติและวีแกนอาจจะได้รับปริมาณคาร์โนซีนน้อยมากหรือไม่มีเลย เนื่องจากคาร์โนซีนไม่พบในอาหารที่มาจากพืช

          Carnosine is a dipeptide composed of two amino acids: β-alanine and L-histidine. Its chemical formula is C₉H₁₄N₄O₃. Carnosine has antioxidant properties that help protect cells from oxidative damage, which is linked to aging and various diseases. It also has anti-glycation properties, helping to prevent the formation of aging accelerators (Advanced Glycation End Products; AGEs). AGEs directly cause deterioration in the body and organs, leading to damage that is associated with aging and diabetes-related complications. Additionally, carnosine enhances muscle performance, delaying muscle fatigue during intense exercise and increasing endurance. It also helps reduce internal inflammation, thus lowering the risk of developing chronic diseases such as heart disease.

         Previous studies have consistently reported that carnosine plays a role in enhancing brain and nervous system function through various mechanisms, including its antioxidant properties, anti-inflammatory effects, and the prevention of glycation in the body, such as neuroprotection and oxidative stress, anti-glycation and prevention of amyloid plaque formation, cognitive function, and brain energy metabolism

          Carnosine is found abundantly in animal products, particularly in animal muscle tissue. The amount of carnosine varies across different types of meat. Red meat (beef, pork, lamb) contains higher levels of carnosine compared to poultry. In poultry, carnosine is more prevalent in chicken breasts than in chicken thighs. Carnosine is also found in some types of fish, particularly those that swim fast, though in lower amounts compared to land animals. By including foods like chicken, beef, and pork in your diet, it is possible to obtain beneficial levels of carnosine. However, vegetarians and vegans may have very low or no dietary intake of carnosine, as it is absent in plant-based foods.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and