201 Views |
By: ผศ.น.สพ.ดร. สุเจตน์ ชื่นชม
Asst. Prof. Sujate Chaunchom, Ph.D.
Department of Animal Science
Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen
Kasetsart University
sujate49@yahoo.com
กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการผลิตเนื้อสุกรของประเทศไทย
ประเทศไทยมีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเนื้อสุกรมากมาย จึงขอยกตัวอย่างกฎหมายและกฎระเบียบที่สำคัญ ตั้งแต่การจัดการฟาร์มไปจนถึงการจำหน่ายเนื้อสัตว์ อาทิ
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร (Good Agricultural Practices; GAP) เป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ 2566 พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558: กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารสัตว์พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559: กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการฆ่าสัตว์ การขนส่งเนื้อสัตว์ และการจำหน่ายเนื้อสัตว์
การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงฆ่าสุกร (Good Manufacturing Practice for Slaughterhouse): กำหนดขั้นตอนการผลิตที่ถูกสุขลักษณะในโรงฆ่าสัตว์ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535: กำหนดมาตรการในการควบคุมมลพิษจากกิจกรรมการผลิต
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสุขาภิบาลโรงฆ่าสัตว์ และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์ คือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ รวมทั้งสารกำจัดแมลงและสัตว์รบกวน ล้วนจัดเป็นวัตถุอันตรายตามความหมายของพระราชบัญญัตินี้ อุตสาหกรรมการผลิตสุกรของประเทศไทยนั้นมีมาตรฐานต่างๆ ตามที่กรมปศุสัตว์ได้มีการกำหนดและควบคุม ตั้งแต่ขั้นตอนการเลี้ยงสุกรที่ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร (Good Agricultural Practices; GAP) เป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ 2566 ส่วนโรงฆ่าสัตว์ต้องได้รับการรับรองการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงฆ่าสุกร (Good Manufacturing Practice for Pig Abattoir) ตามพระราชบัญญัติการควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ ผู้ประกอบกิจการโรงฆ่าสัตว์ต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการฆ่าสัตว์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีพนักงานตรวจโรคสัตว์ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสุขภาพสัตว์ก่อนเข้าสู่กระบวนการฆ่าสัตว์ และตรวจสภาพสัตว์ภายหลังจากการฆ่าสัตว์ เพื่อให้ได้เนื้อสุกรที่มีความเหมาะสมต่อการบริโภค จนกระทั่งถึงโรงงานแปรรูปสุกรที่จะต้องปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Hygienic Practice; GHP) รวมถึงการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point; HACCP) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรที่ผลิตภายใต้มาตรฐานดังกล่าวนี้จะมีความสะอาด ปลอดภัย และปราศจากสารปนเปื้อน
นอกจากนี้ ทางกรมปศุสัตวยังมีการออกเครื่องหมาย ‘ปศุสัตว์ ok’ สำหรับการรับรองสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ โดยร้านค้าที่มีการติดเครื่องหมายนี้แสดงว่า เนื้อสัตว์ที่นำมาจำหน่ายนั้นรับมาจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ผ่านการเชือดจากโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกกฎหมาย และจำหน่ายในสถานที่ที่มีความสะอาดและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ได้ โดยหากผู้บริโภคเลือกซื้อเนื้อสุกรจากร้านค้าที่ได้รับเครื่องหมาย ‘ปศุสัตว์ ok’ นี้ ก็มั่นใจได้ว่าเนื้อสุกรนั้นจะมีคุณภาพและความปลอดภัยต่อการบริโภค
Regulations Related to Pork Production in Thailand
Thailand has numerous regulations governing pork production. Here are examples of important regulations covering from farm management to meat distribution:
· Good Agricultural Practices (GAP) for Pig Farms (2023): A mandatory standard for pig farms.
· Feed Quality Control Act (2015): Sets safety standards for animal feed.
· Animal Slaughter and Meat Distribution Control Act (2016): Establishes criteria and methods for slaughtering animals, transporting meat, and distributing meat.
· Good Manufacturing Practice for Slaughterhouse: Defines hygienic production processes in slaughterhouses.
· National Environmental Quality Promotion and Preservation Act (1992): Specifies measures to control pollution from production activities.
· Hazardous Substances Act (1992): Governs the use of hazardous substances in slaughterhouses and meat processing plants, including cleaning agents, disinfectants, and pest control chemicals.
Thailand's pork production industry adheres to standards set and controlled by the Department of Livestock Development. This includes farm management, which must be certified under the Good Agricultural Practices (GAP) for pig farms (2023), and slaughterhouses that must comply with Good Manufacturing Practice for Pig Abattoir, as stipulated by the Animal Slaughter and Meat Distribution Control Act (2016). Slaughterhouse operators must have the appropriate licenses, employ animal disease inspectors to check animal health before and after slaughter, and ensure that the pork is suitable for consumption. Additionally, pork processing plants must follow Good Hygienic Practice (GHP) and Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) principles to ensure that pork and pork products produced under these standards are clean, safe, and free from contaminants.
Additionally, the Department of Livestock Development has introduced the "Livestock OK" certification mark for meat distribution locations. Stores displaying this mark indicate that the meat sold comes from farms that have met certification standards, has been processed at a legally compliant slaughterhouse, and is sold in a clean and sanitary environment. This certification also ensures traceability to the meat's source. Consumers who purchase pork from stores with the 'Livestock OK' mark can be assured of the quality and safety of the pork.