ผลิตภัณฑ์ชาแดง Rooibos สำเร็จรูป: ทางเลือกใหม่ของชาไร้คาเฟอีน Ready-to-Drink Rooibos Tea Product: Alternative Decaffeinated Tea

146 Views  | 

ผลิตภัณฑ์ชาแดง Rooibos สำเร็จรูป: ทางเลือกใหม่ของชาไร้คาเฟอีน Ready-to-Drink Rooibos Tea Product: Alternative Decaffeinated Tea

By:   ดร. ธนาวิทย์ กุลรัตนรักษ์
Thanawit Kulrattanarak, Ph.D.
School of Food Technology
Suranaree University of Technology
k-thanawit@sut.ac.th

รศ.ดร. มาโนชญ์ สุธีรวัฒนานนท์
Assoc. Prof. Manote Sutheerawattananonda, Ph.D.
Food Valley Lower Northeastern in Thailand
(Food Safety and Innovation)
School of Food Technology
Suranaree University of Technology
Foodvalley.LNE@gmail.com

นันตชา การะเนตร์
Nantacha Karanate
Food Valley Lower Northeastern in Thailand
(Food Safety and Innovation)
School of Food Technology
Suranaree University of Technology
nantacha.k789@gmail.com


  


องค์ประกอบและคุณสมบัติที่ดีต่อร่างกายของชารอยบอส    
     ชารอยบอส มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aspalathus ในทวีปยุโรปมักเรียกว่า Red tea หรือชาแดง ความพิเศษของชาชนิดนี้คือ มีความหวานเล็กน้อย ไม่มีรสขม และไม่มีคาเฟอีน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องควบคุมหรือระมัดระวังในการบริโภคคาเฟอีน นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งแอสพาราธิน (Aspalathin) และเควอซิทิน (Quercetin) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะสามารถปกป้องเซลล์ไม่ให้เกิดความเสียหายจากอนุมูลอิสระได้ 

ปัจจุบันมีการศึกษาประโยชน์ของแอสพาราธินที่มีต่อร่างกายในหลากหลายด้าน ดังนี้

- การรักษาภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome) ปัจจุบันมีการศึกษาประโยชน์ของชารอยบอสในการลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกาย (Oxidative stress) ซึ่งเป็นสาเหตุของการพัฒนาภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Hong et al. (2014) ที่ได้ศึกษาคุณสมบัติของชารอยบอสในการช่วยลดความเครียดในหนูทดลอง ซึ่งพบว่า กลุ่มหนูที่ได้รับชารอยบอสมีการผลิตสาร 5-Hydroxy indoleacetic acid (5-HIAA) (องค์ประกอบหลักของสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งจะถูกผลิตออกมามากขึ้นเมื่อมีความเครียด) และ Free Fatty Acid (FFA) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มหนูที่มีความเครียด

- การทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของชารอยบอส ด้วยวิธี Total Radical-trapping Antioxidant Parameter Assay (TRAP) โดยหลังจากการบริโภคประมาณ 5 ชั่วโมง พบว่าในเลือดของผู้ที่บริโภคชาที่ไม่ผ่านการหมักมีปริมาณแอสพาราธิน 41 มิลลิกรัม สูงกว่าตัวแปรควบคุมและชาที่ผ่านการหมักซึ่งมีปริมาณแอสพาราธินเพียง 3.1 มิลลิกรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

- มีการศึกษาพบว่าชาแดงรอยบอสช่วยลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด (Low-density Lipoprotein; LDL) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และการกระจายของไขมันในร่างกายได้อีกด้วย

- การศึกษาคุณสมบัติในการต้านเบาหวานของหนูทดลอง เมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุมที่เป็นเบาหวาน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดแอสพาราธินมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

กลิ่นและรส (Flavor Profile) ในชารอยบอส
     จากงานวิจัยที่ได้มีการทดสอบทางประสาทสัมผัส พบว่า ชารอยบอสที่ผ่านการหมักมีโปรไฟล์กลิ่นรสซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่ 1 กลิ่นแมกไม้ (Woody aroma) กลุ่มที่ 2 กลิ่นหอมหวาน (Sweet aroma) และกลุ่มที่ 3 รสชาติ (Taste) ก่อให้เกิดกลิ่นรสอันเป็นเอกลักษณ์ของชารอยบอส ซึ่งกลายเป็นเครื่องดื่มที่น่าพึงพอใจสำหรับผู้บริโภคที่ชื่นชอบชา

Components and Health Benefits of Rooibos Tea
     Rooibos tea, scientifically known as Aspalathus linearis and commonly called red tea in Europe, produce a tea characterized by a slightly sweet taste and an absence of bitterness as well as caffeine, making it an ideal choice for individuals who need to regulate their caffeine intake. Additionally, rooibos tea is rich in antioxidants, including aspalathin and quercetin, which help to protect cells against damage caused by free radicals.

Aspalathin has numerous health benefits, as demonstrated by the following studies:

- Treatment of metabolic syndrome: Studies have shown that rooibos tea can positively impact health by reducing oxidative stress, a contributing factor to metabolic syndrome. Hong et al. (2014) demonstrated this benefit by testing the stress-reducing properties of rooibos tea on rats model. The findings revealed that, compared to the stress group, the stress+rooibos group produced significantly less free fatty acid (FFA) and 5-Hydroxyindoleacetic acid (5-HIAA), a main component of serotonin usually produced during stress.

- The antioxidant activity of rooibos tea was evaluated using the total radical-trapping antioxidant parameter (TRAP) assay, The results revealed that, five hours after consumption, the blood samples of participants who had consumed unfermented rooibos tea contained 41 milligrams of aspalathin. This amount was significantly higher than that detected in the fermented rooibos and control groups, which had only 3.1 milligrams of aspalathin.

- Previous research indicates that red rooibos tea can reduce low-density lipoprotein (LDL) in the blood, a cause of coronary heart disease. Red rooibos tea can also regulate blood sugar levels, reduce blood triglycerides, and moderate fat distribution in the body.

- The study of the tea’s antidiabetic activity was conducted on rats model. Compared to the diabetic control group, the aspalathin-intake group exhibited a significant decrease in blood sugar levels.

Flavor Profiles of Rooibos Tea
     The research on the sensory evaluation of rooibos tea indicates that fermented rooibos tea typically features three types of flavor profiles: woody aroma, sweet aroma, and taste. The woody aroma group, the sweet aroma group, and the taste. These elements contribute to the unique and defining characteristics of rooibos tea, making it a pleasant and enjoyable drink for tea enthusiasts.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and