131 Views |
By: รวิศ ทัศคร
Ravis Tasakorn
Department of Food Science and Technology
Faculty of Agro-Industry
Chiang Mai University
ravis.t@cmu.ac.th
กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ได้แบ่งประเภทของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ น้ำมันหล่อลื่นเกรดอาหาร (Food grade) และน้ำมันหล่อลื่นที่ไม่ใช่เกรดสำหรับอาหาร (Non-food grade) โดยน้ำมันหล่อลื่นเกรดอาหารนั้นได้กำหนดมาตรฐานในการแบ่งประเภทเป็น H1 H2 และ H3 ซึ่งในช่วงแรก USDA ทำหน้าที่รับจดทะเบียนน้ำมันหล่อลื่นเกรดอาหาร แต่ภายหลังปี พ.ศ. 2541 ได้หยุดให้บริการลงทะเบียนไป ซึ่งปัจจุบันองค์กรส่งเสริมอนามัยแห่งชาติระหว่างประเทศ (NSF International) ได้เข้ามารับหน้าที่แทน โดย NSF ถือเป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกสำหรับการรับรองและทดสอบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหาร น้ำ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้งาน
ประเภทของน้ำมันหล่อลื่นเกรดอาหารตามมาตรฐาน NSF
น้ำมันหล่อลื่นคลาส H1
น้ำมันหล่อลื่นประเภท H1 เป็นสารหล่อลื่นที่ใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสเกิดการสัมผัสระหว่างน้ำมันกับอาหาร (Incidental food contact) โดยมิได้ตั้งใจ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และไก่ หรือในพื้นที่อื่นที่อาหารมีโอกาสสัมผัสกับน้ำมันได้ โดยทั่วไปสารหล่อลื่นคลาส H1 ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น เหมาะสำหรับใช้ในกระบวนการผลิตที่มีการสัมผัสกับอาหารโดยบังเอิญหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามปริมาณที่สัมผัสกับอาหารต้องไม่เกิน 10 ppm หรือร้อยละ 0.001 ไม่เช่นนั้นจะถือว่าอาหารนั้นไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค
น้ำมันหล่อลื่นคลาส H2
น้ำมันหล่อลื่นประเภท H2 จะใช้ในโรงงานหรืออาคารแปรรูปอาหารในจุดที่ไม่มีโอกาสสัมผัสกับอาหารอย่างแน่นอน หรือใช้ในเครื่องจักรและส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ไม่มีโอกาสสัมผัสกับอาหาร โดยสารต่างๆ ที่ใช้ในน้ำมันหล่อลื่นทั่วไปอาจยอมรับให้ใช้ได้ในคลาส H2 แต่มีข้อห้ามเกี่ยวกับความเป็นพิษ และข้อพิจารณาอื่นๆ ว่าน้ำมันหล่อลื่น H2 จะต้องไม่มีสารก่อมะเร็ง (Carcinogens) สารก่อกลายพันธุ์ (Mutagens) สารก่อวิรูป (Teratogens) กรดเกลือแร่ (Mineral acids) สารซักฟอก หรือโลหะหนักที่ตั้งใจเติมลงไป
น้ำมันหล่อลื่นคลาส H3
น้ำมันหล่อลื่นประเภท H3 เป็นน้ำมันที่ใช้เพื่อป้องกันการกัดกร่อน (Rust prevention) หรือป้องกันสนิมบนส่วนของเครื่องจักรที่ไม่มีโอกาสสัมผัสกับอาหาร ซึ่งมักจะใช้สำหรับการบำรุงรักษาส่วนของเครื่องที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง โดยวัสดุหล่อลื่นคลาส H3 นี้สามารถใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ประเภท Food grade ได้ โดยเฉพาะน้ำมันพืช ซึ่งมีความปลอดภัยต่อการบริโภค
The U.S. Department of Agriculture (USDA) classifies lubricants used in the food industry into two main categories: food-grade lubricants and non-food-grade lubricants. Food-grade lubricants are further classified into H1, H2, and H3 categories. Initially, the USDA was responsible for registering food-grade lubricants, but as of 1998, it ceased this service. Currently, NSF International, a globally recognized independent organization, has taken over this role. NSF is an independent organization known worldwide for certifying and testing products related to food, water, and environmental safety to ensure that these products do not pose a health risk to users.
Types of Food Grade Lubricants according to NSF Standards
H1 Class Lubricants
H1 lubricants are used in environments where incidental food contact may occur. This can happen in industries like meat and poultry or other areas where food might come into contact with lubricants. Generally, H1 lubricants are tasteless and odorless and are suitable for use in processes where incidental food contact is unavoidable. However, the amount of contact must not exceed
10 ppm or 0.001%, otherwise, the food is considered unsafe for consumption.
H2 Class Lubricants
H2 lubricants are used in food processing facilities or buildings in areas where there is no chance of direct contact with food, or in machinery and machine components that are not likely to come into contact with food. Substances used in general lubricants may be acceptable for H2 classification, but there are strict prohibitions regarding toxicity and other considerations. Specifically, H2 lubricants must be free from Carcinogens, Mutagens, Teratogens, Mineral acids, Detergents, and intentionally added heavy metals.
H3 Class Lubricants
H3 lubricants are used to prevent rust or corrosion on machine parts that do not contact food. They are often used for maintaining parts of machinery in high-humidity environments. H3 lubricants can be components of food-grade products, especially vegetable oils, which are safe for consumption.