327 Views |
ถั่วดาวอินคา: วัตถุดิบทางเลือกใหม่สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมโปรตีนสูง
Sacha Inchi: A New Alternative Ingredient for Development of High-Protein Milk Products
By: ผศ.ดร. สิริรัตน์ พานิช
Assist. Prof. Sirirat Panich, Ph.D.
Division of Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology
Faculty of Science and Technology
Rajamangala University of Technology Phra Nakhon
sirirat.pan@rmutp.ac.th
ถั่วดาวอินคา: แหล่งวัตถุดิบที่มีคุณประโยชน์สูง
ถั่วดาวอินคา (Sacha inchi) เป็นที่รู้จักกันในนามของ “แหล่งของโอเมก้า 3” บนดิน ซึ่งทาง อย. ได้รับรองน้ำมันที่สกัดจากถั่วดาวอินคาให้สามารถประกอบอาหารได้ไม่เกิน 3 กรัม ขณะที่เมล็ดกระเทาะที่ทำให้สุกด้วยความร้อนอย่างน้อย 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สามารถรับประทานเป็นอาหารทั่วไปได้ ส่วนกากถั่วที่ได้จากการบีบเอาน้ำมันออกแล้วอบไล่ความชื้นที่ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนบดเป็นผง สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหารได้ในปริมาณสูงสุด 1.5 กรัมต่อวัน
ผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา: ทางเลือกใหม่สำหรับผู้แพ้นมวัว
นมจากถั่วดาวอินคา
เป็นที่ทราบกันดีว่านมวัวเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็มีผู้บริโภคบางส่วนที่มีภาวะขาดเอนไซม์ในการย่อยแลคเตสในนม และมีผู้บริโภคบางส่วนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์หรือผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติซึ่งไม่สามารถบริโภคนมวัวได้ ดังนั้น ถั่วดาวอินคาจึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว เนื่องจากมีปริมาณโปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนครบถ้วน โดยนมถั่วดาวอินคาจะให้พลังงานทั้งสิ้น 110 กิโลแคลอรี ซึ่งประกอบด้วย ไขมัน 9 กรัม โปรตีน 4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม ใยอาหาร 1 กรัม และโซเดียม 15 มิลลิกรัม รวมถึงมีวิตามินบี 1 ร้อยละ 2 แคลเซียม ร้อยละ 4 และเหล็ก ร้อยละ 4 เมื่อทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสของอาหารโดยเปรียบเทียบกับนมอัลมอนด์ พบว่านมจากถั่วดาวอินคามีกลิ่นและรสถั่วอย่างชัดเจน แต่ด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่สูง ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน หรือกรดอะมิโนจำเป็นที่ครบถ้วน ไขมันดีที่มีประโยชน์ทั้งโอเมก้า 3, 6 และ 9 ทั้งยังปราศจากไขมันทรานส์และคอเลสเตอรอล จึงกลายเป็นจุดที่สามารถดึงดูดใจผู้บริโภคได้
เนยถั่วดาวอินคา
เนยถั่วดาวอินคาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ เนื่องจากมีทั้งไขมันดี โปรตีนสูง และกรดอะมิโนครบถ้วน นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยแร่ธาตุ เช่น โพแทสเซียม แมงกานีส และแคลเซียม รวมถึงมีสังกะสี เหล็ก และซิลีเนียมในปริมาณเล็กน้อย ขณะเดียวกันก็พบว่าเนยถั่วดาวอินคามีปริมาณของฟีนอลิก 0.3 มิลลิกรัมกรดแกลลิก
ผลิตภัณฑ์เนยถั่วดาวอินคา Sacha inchi seed butter
Sacha Inchi: Source of High Nutrients
Sacha inchi, known as a terrestrial source of omega-3. The Thai Food and Drug Administration (Thai FDA) approved maximum amount of sacha inchi oil extract for food cooking is 3 grams, while hulled seeds cooked at 100 Co for the minimum duration of 2 hours can be consumed as general food. Sacha inchi oil-press cake that has been baked at 80 Co for 24 hours and ground into powder can be used as a food ingredient, but the maximum amount allowed for consumption is 1.5 grams per day.
Sacha Inchi Milk Products: A New Choice for People Allergic to Cow Milk
Milk from Sacha Inchi
Cow milk is commonly known as a healthy drink. However, some consumers who do not drink cow milk, such as individuals who do not have the enzyme lactase that can break down lactose in cow milk, those who do not eat meat, or vegetarians, sacha inchi is, therefore, a new dietary alternative as it boasts high protein content and all types of amino acids. Sacha inchi milk yields 110 kilocalories, consisting of 9 grams of fat, 4 grams of protein, 3 grams of carbohydrate, 1 gram of fiber, 15 milligrams of sodium, 2 percent of vitamin B1, 4 percent of calcium, and 4 percent of iron. Regarding its food sensory quality, sacha inchi milk exhibits a more robust nutty aroma and flavor in comparison with that of almond milk. Nonetheless, the milk’s high nutritional value, which includes high protein, a complete set of essential amino acids, HDL, omega 3, omega 6, and omega 9, as well as its lack of trans fat and cholesterol, is actually the main highlight that attracts consumers’ interest.
Sacha Inchi Seed Butter
Sacha inchi butter is another dietary choice for health-conscious consumers thanks to its abundance of HDL, protein, and amino acids. Based on an analysis of saturated fat types and quantity in this butter, the highest content found is palmitic acid, followed by stearic acid. It also contains a variety of minerals, such as potassium, manganese, and calcium, as well as a small amount of zinc, iron, and selenium. Also present in sacha inchi butter are 0.3 milligrams of phenolic compounds and gallic acid.