418 Views |
By: Mettler-Toledo (Thailand) Limited
MT-TH.Customersupport@mt.com
ปัจจุบันข้อกำหนดทางด้านมาตรฐานการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกมีความเข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากมีการตรวจพบการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์ในอัตราที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ ซึ่งล้วนก่อให้เกิดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการเรียกคืน รวมถึงส่งผลกระทบต่อความเสียหายและชื่อเสียงของบริษัทตามมา โดยบทความนี้ได้มีการรวบรวมสาเหตุ ผลกระทบ และกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ศึกษาแนวทางในการลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในอนาคต
สาเหตุที่มักพบในการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
- การปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค (ร้อยละ 39)
- การปนเปื้อนสารก่อภูมิแพ้ที่ไม่ได้มีการระบุไว้บนฉลาก (ร้อยละ 21)
- การปนเปื้อนจากสิ่งปลอมปน (ร้อยละ 12) ไม่ว่าจะเป็นสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบ สิ่งปนเปื้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต หรือจากอุปกรณ์ที่ชำรุด เช่น กระดูก แก้ว โลหะ และเศษวัสดุ เป็นต้น
- ระบบประกันคุณภาพที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 10)
- การติดฉลากที่ไม่ถูกต้อง (ร้อยละ 8) ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ หรือความผิดพลาดจากการทำงาน
- การใช้ส่วนผสมที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 4)
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
1. ความปลอดภัยของอาหาร
การปนเปื้อนด้วยสาเหตุทางกายภาพถือเป็นปัญหาที่สำคัญต่อความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์อาหาร เพราะหากมีเศษโลหะ แก้ว กระดูก พลาสติก หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เข้าไปปนเปื้อนในอาหาร ล้วนส่งผลให้กระทบที่ร้ายแรงต่อผู้บริโภคได้
2. ความเสียหายต่อแบรนด์
การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการปนเปื้อนทางกายภาพนั้นมีความเสี่ยงต่อความเสียหายของแบรนด์ เนื่องจากข้อกังวลด้านความปลอดภัยทางอาหารนั้นมักเป็นประเด็นข่าวที่มีการเผยแพร่ผ่านทางสื่อต่างๆ ซึ่งสามารถทำลายชื่อเสียงของแบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว
3. ต้นทุนทางตรงที่เกิดจากการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
การเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาจก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้สูงถึงหลักล้าน ซึ่งหากถูกตรวจพบภายหลังว่ามีความผิดที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดทางด้านสุขภาพและความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ ก็อาจจะต้องมีการเสียค่าปรับเพิ่มขึ้นตามมาอีกด้วย
Nowadays, the standard requirements for food production and export, especially meat and poultry, are more stringent due to the increased detection of contamination in such products. This results in a subsequent product recall and the costs associated with recalls, including damaging the company's reputation. In this article, we have included the causes, effects, and damages arising from product recalls to allow entrepreneurs to find solutions to reduce risks that may affect consumers in the future.
Main Reasons for Product Recalls
- Pathogens (39%)
- Undeclared allergens contamination (21%)
- Contaminants (12%) that may be part of the product itself or raw materials be introduced during food processing or result from equipment breakdown. Examples of contaminants are bone, glass, metal, and debris.
- Not passing the criteria of quality assurance (10%)
- Mislabeling (8%) could be due to product changeover, packaging errors, or operator errors.
- The unapproved ingredient (4%)
Far-reaching Consequences from Recalls
1. Food Safety
Physical contamination of food is, first and foremost, a safety issue. If fragments of metal, glass, bone, plastic, or other foreign objects enter the food chain, there is a chance that they could cause serious harm to the consumer.
2. Brand Damage
Product recalls caused by physical contamination are also a considerable risk to a brand's reputation. Food safety scares make headlines, and a well-publicized incident can destroy the value of a brand name in an alarmingly short space of time.
3. Recall Costs (Direct)
It can cost millions to execute a product recall, and if a company is subsequently found guilty of a health and safety breach, it can also result in the imposition of significant fines.