การพัฒนาและใช้ประโยชน์เปปไทด์เพื่อการดูแลสุขภาพทางเดินอาหาร Development and Utilization of Peptides for Gastrointestinal Health

492 Views  | 

การพัฒนาและใช้ประโยชน์เปปไทด์เพื่อการดูแลสุขภาพทางเดินอาหาร  Development and Utilization of Peptides for Gastrointestinal Health

By:   ดร. วีระพงษ์ วรประโยชน์
Weerapong Woraprayote, Ph.D.
Researcher
Functional Ingredients and Food Innovation Research Group
National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC)
weerapong.wor@biotec.or.th

  

การใช้ประโยชน์เปปไทด์เพื่อส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหา

     ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพทางเดินอาหาร เปปไทด์เป็นส่วนผสมสำคัญที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งแบบตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ โดยแบคทีเรียโพรไบโอติกส์หลายสายพันธุ์ได้ผ่านการศึกษาและระบุออกมาแล้วว่าเป็นแหล่งสร้างเปปไทด์ที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive peptides) เช่น เปปไทด์ต้านจุลินทรีย์ เปปไทด์ต้านอนุมูลอิสระ และเปปไทด์ต้านการอักเสบ ดังนั้น การบริโภคผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์จึงได้รับประโยชน์ของเปปไทด์ที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพเหล่านั้นไปด้วย นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางรายการก็ใช้เปปไทด์ต้านจุลินทรีย์จากแบคทีเรียกรดแลคติกหรือแบคเทอริโอซิน (Antimicrobial peptide from lactic acid bacteria or bacteriocin) ซึ่งอาจอยู่ในรูปเปปไทด์บริสุทธิ์ (Purified peptide) หรือในรูปโพสไบโอติกส์ ซึ่งเป็นส่วนผสมที่ช่วยลดเชื้อแบคทีเรียก่อโรคและส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อโพรไบโอติกส์ในทางเดินอาหาร นอกจากนี้ ยังสามารถยกตัวอย่างเปปไทด์ที่จำแนกตามบทบาทและกลไกการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางเดินอาหารได้ ดังนี้

1. เปปไทด์ที่มีฤทธิ์ควบคุมการเคลื่อนตัวของอาหารหรือการบีบตัวของทางเดินอาหาร (Peptides with activities to regulate gastrointestinal transit or gastrointestinal motility) เช่น เปปไทด์จากถั่วเหลือง เปปไทด์จากเคซีนในนมวัว เปปไทด์จากกลูเตนข้าวสาลี เปปไทด์จากนม และเปปไทด์จากไข่ขาวของเป็ด  

2. เปปไทด์ที่มีฤทธิ์ควบคุมเกราะป้องกันทางกายภาพของลำไส้ (Peptides with activities to regulate intestinal physical barrier function) เช่น เปปไทด์จากเคซีนในนมวัว เปปไทด์จากนมควาย เปปไทด์จากปลา เปปไทด์จากถั่วเหลือง และเปปไทด์จากกลูเตนข้าวสาลี

3. เปปไทด์ที่มีฤทธิ์ควบคุมเกราะป้องกันทางเคมีของลำไส้ (Peptides with activities to regulate intestinal chemical barrier function) เช่น เปปไทด์จากถั่วเหลือง เปปไทด์จากไข่ขาวของเป็ด เปปไทด์จากนมลา เปปไทด์จากนมวัว และเปปไทด์จากกลูเตนข้าวสาลี

4. เปปไทด์ที่มีฤทธิ์ควบคุมเกราะป้องกันทางชีววิทยาของลำไส้ (Peptides with activities to regulate intestinal biological barrier function) เช่น เปปไทด์จากไข่ขาวของไก่ เปปไทด์จากไข่ขาวของเป็ด เปปไทด์จากโอโวทรานส์เฟอร์ริน เปปไทด์จากกลูเตนข้าวสาลี เปปไทด์จากข้าว และเปปไทด์จากนม

5. เปปไทด์ที่มีฤทธิ์ควบคุมเกราะป้องกันทางภูมิคุ้มกันวิทยาของลำไส้ (Peptide with activities to regulate intestinal immunological barrier function) เช่น เปปไทด์จากเวย์โปรตีน เปปไทด์จากเคซีนนมวัว เปปไทด์จากไลโซไซม์ของไข่ไก่ เปปไทด์จากไข่แดง เปปไทด์จากถั่วเหลือง เปปไทด์จากกลูเตนข้าวโพด และเปปไทด์จากผลกีวี

6. เปปไทด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเซลล์ลำไส้ (Peptides with antioxidant activity in intestinal cells) เช่น เปปไทด์จากนม เปปไทด์จากเยื่อเปลือกไข่ และเปปไทด์ฟอสวิตินจากไข่แดง


Utilization of Peptides for Gastrointestinal Health Improvement

     For gastrointestinal products, peptides are an important and common ingredient that is used throughout the industry both intentionally and otherwise. Many strains of probiotics have been studied and defined as rich sources of bioactive peptides with antimicrobial, antioxidant, and anti-inflammatory properties. Therefore, the consumption of probiotics will come attached to the benefits of these bioactive peptides. Furthermore, certain dietary supplements even feature antimicrobial peptides from lactic acid bacteria or bacteriocin, which can be in the form of purified peptides or postbiotics. These ingredients can reduce pathogenic bacteria and promote the growth of probiotics in the gastrointestinal tract.

Peptides can be categorized, according to their roles and functional mechanisms related to the gastrointestinal health, as follows:

1. Peptides with activities to regulate gastrointestinal transit or gastrointestinal motility include, for instance, soy peptide, bovine casein peptide, wheat gluten peptide, milk peptide, and duck egg white peptide.

            2. Peptides with activities to regulate intestinal physical barrier function are, for instance, bovine casein peptide, buffalo milk peptide, fish peptide, soy peptide, wheat gluten peptide.

3. Peptides with activities to regulate intestinal chemical barrier function are soy peptide, duck egg white peptide, donkey milk peptide, cow milk peptide, and wheat gluten peptide.

4. Peptides with activities to regulate intestinal biological barrier function include hen egg white peptide, duck egg white peptide, ovotransferrin peptide, wheat gluten peptide, rice peptide, milk peptide.

5. Peptides with activities to regulate intestinal immunological barrier function are, to illustrate, whey peptide, bovine casein peptide, hen egg white lysozyme peptide, egg yolk peptide, soy peptide, corn gluten peptide, and kiwifruit peptide.

6. Peptides with antioxidant activity in intestinal cells are milk peptide, eggshell membrane peptide, hen egg yolk phosvitin peptide.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and