แนวทางการยกระดับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

507 Views  | 

แนวทางการยกระดับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

แนวทางการยกระดับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

By:  ผศ.ดร. สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ
Assist. Prof. Suchinda Jarupat Maruo, Ph.D.
Department of Occupational Health and Safety
Faculty of Public Health
Mahidol University
suchinda.jar@mahidol.ac.th

  

     ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการและโรงงานผลิตอาหาร ต้องพบเจอะความเสี่ยงในการทำงานจากสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอันตราย อุบัติเหตุ รวมถึงการสัมผัสกับสภาวะที่เป็นภัยคุกตามต่อสุขภาพเป็นระยะเวลานาน เช่น พื้นที่การทำงานที่มีความร้อนหรือเย็นมากเกินไป แสงสว่างที่ไม่เหมาะสมต่อการทำงาน เสียงดังเกินกว่ามาตรฐานกำหนด การอยู่ในบริเวณที่มีรังสีอันตราย หรืออันตรายทางจิตสังคม เป็นต้น ดังนั้น การยกระดับระบบบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ย่อมจะทำให้โอกาสในการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัย อันเนื่องจากการทำงานน้อยลงตามไปด้วย

มาตรฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ
     ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization; ILO) ซึ่งมีข้อกำหนดและข้อเสนอแนะให้ประเทศสมาชิกได้ออกกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมด้านแรงงาน และส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีสุขอนามัยที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดนโยบาย กฎหมาย และการให้บริการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่สถานประกอบกิจการ

     ซึ่งในปัจจุบัน ได้มอบหมายให้นักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นวิชาชีพที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการให้บริการด้านอาชีวอนามัย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องอันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพ ด้านการรักษาพยาบาล การป้องกันโรค และการบาดเจ็บจากการทำงาน และให้การสนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับวิชาชีพอื่นเพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย ตลอดจนการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อพิทักษ์สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้ประกอบอาชีพ เช่น สถานประกอบกิจการใดที่มีผู้ปฏิบัติงานที่มีโอกาสได้รับหรือสัมผัสกับสารเคมีอันตราย จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานในการจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 หมวด 3 เรื่องการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

     Workers in food establishments and factories are constantly exposed to risks in their working environments that may lead to hazards and accidents, including extended exposure to conditions that are a threat to their health, such as work areas that are too hot or too cold, inappropriate lighting, excessive noise, being in an area with dangerous radiation or psychosocial hazards, etc. Therefore, improving the safety, occupational health, and working environment management system to a higher standard can effectively mitigate their chances of experiencing hazards to their life, body, mind, or health, to a lesser degree.

Workplace Safety and Occupational Health Standards
     Thailand is currently a member of the International Labour Organization and must abide by its regulations and recommendations to enact laws to ensure labor fairness and encourage good physical, mental, and social hygiene practices among workers. In this regard, the Ministry of Labor, the Ministry of Public Health, the Ministry of Industry, and the Ministry of Resources and Environment, have established policies, laws, and occupational health and safety services for establishments.

     In response, these workplaces have then assigned occupational health and safety officers, or industrial hygienists, a profession with the necessary knowledge and skills in providing occupational health services, to create awareness among its workers regarding the related hazards, health effects, medical care, disease prevention, and work-related injuries. Their main task also includes providing support in performing duties collaboratively with other professions to restore physical health, as well as complying with relevant laws to protect the health-related benefits of workers and professionals. For example, any business establishments where workers are exposed to hazardous chemicals are required to comply with the Ministerial Regulations that have set standards for managing and operating safety, occupational health, and the working environment related to hazardous chemicals, B.E. 2013, Section 3, regarding worker safety protection.


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and