647 Views |
BY: ดร. ยุวเรศ มลิลา
Yuwares Malila, Ph.D.
Researcher
Food Biotechnology Research Team (IFBT)
Functional Ingredients and Food Innovation Research Group
National Center for Genetic Engineering and Biotechnology
Yuwares.mal@biotec.or.th
เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา มีข่าวที่สร้างความน่าตื่นเต้นให้กับวงการอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มโปรตีนทางเลือก นั่นคือ ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ (cellular agriculture) จากสองบริษัท Upside และ GOOD Meat ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้ผ่านการพิจารณาด้านความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา และอนุญาตให้ผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง (cultured meat) เพื่อจำหน่ายได้เป็นประเทศที่สองของโลก โดยทั้งสองบริษัทนี้ทำงานร่วมกับร้านอาหารมิชลินสตาร์และเซเลบริตี้เชฟ ในการสร้างสรรค์เมนูที่ทำมาจากเนื้อไก่เพาะเลี้ยงให้กับผู้ที่สนใจได้ลิ้มลองรสชาติของอาหารแห่งอนาคต ซึ่งนับเป็นเวลาเกือบสองปีหลังจากที่ประเทศสิงคโปร์ โดย Singapore Food Agency (SFA) อนุญาตให้บริษัท Eat Just ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ GOOD Meat ให้สามารถผลิตนักเก็ตไก่เพาะเลี้ยง
เชิงพาณิชย์ได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2563
ขั้นตอนการผลิตและสถานภาพงานวิจัยเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง
เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากใช้เวลาในการผลิตโปรตีนน้อยกว่าการเลี้ยงสัตว์แบบปกติ ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงวัวทั่วไปใช้เวลา 112 สัปดาห์ ในขณะที่เนื้อวัวเพาะเลี้ยงเซลล์จะใช้เวลาเพียง 12 สัปดาห์เท่านั้น รวมถึงเนื้อสัตว์จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ยังผลิตจากเซลล์ของสัตว์ชนิดนั้นๆ จึงน่าจะช่วยลดข้อจำกัดด้านรสชาติ และเนื้อสัมผัสของกลุ่มเนื้อเทียมจากพืช (plant-based meat analog) โดยกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจากเซลล์สามารถแบ่งออกเป็น (1) การคัดเลือกและเตรียมเซลล์ (cell sourcing) (2) การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell expanding) ในถังปฏิกรณ์ (bioreactor) และ (3) การขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ (meat forming) ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยในแต่ละขั้นตอนจะมีความ
ท้าทายที่แตกต่างกัน ซึ่งความท้าทายหลักของการผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง คือ การขยายกำลังการผลิตด้วยโจทย์ที่ว่า “จะทำอย่างไรให้ได้เซลล์ที่มีความหนาแน่นสูงสำหรับการผลิตในปริมาณมาก (mass production) และมีราคาที่ไม่เกินกำลังซื้อของผู้บริโภค”
In the middle of June 2023, groundbreaking news brought excitement to the food industry, especially to the alternative protein segment: as a result of cellular agriculture, cultured chicken meat produced by two American companies, Upside and GOOD Meat, was granted approval from the U.S. Food and Drug Administration, thus crowning USA as the world’s second country to legalize commercial cultured meat production. Furthermore, the duo chose to collaborate with Michelin-star restaurants and celebrity chefs to craft special menus that feature cultured chicken, targeting those interested in getting a taste of the future food. This milestone event came two years after the Singapore Food Agency (SFA) had granted a permit to Eat Just, GOOD Meat’s parent company, to commercially manufacture cultured chicken nuggets in December 2020.
Cultured Meat Manufacturing Process and Research Status
Cultured meat has gained blossoming interest because it requires less time to produce protein than conventional livestock farming. For example, raising a cow generally takes up to 112 weeks, but meat culturing requires only 12 weeks. In addition, cultured meat is produced from genuine animal cells, thus potentially reducing the limitations of flavor and texture that are commonly found in plant-based meat analogs. The production process for cultivated meat can be mainly divided as follows: (1) cell sourcing, (2) cell expanding in bioreactors, and (3) meat forming, as illustrated in Figure 1. Each stage comes with its own challenges, but the main obstacle of cultured meat production is the expansion of manufacturing capacity, with the primary question being “How to obtain the high-density cells that are suitable for mass production at affordable prices for consumers.”