1754 Views |
By: ศุภกร กรบุญไตรทศ
Suppakorn Kornboontritos
Industry Researcher
Krungsri Research
Bank of Ayudhya PCL.
krungsri.research@krungsri.com
โครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง และอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องที่รวมถึงอาหารปรุงสุกและปรุงรส ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น โดยประเทศไทยจัดเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลแปรรูปรายใหญ่อันดับ 8 ของโลกในเชิงปริมาณ และอันดับ 14 ของโลกในเชิงมูลค่า ด้วยสัดส่วนร้อยละ 3.3 และร้อยละ 3.0 ของปริมาณ และมูลค่าส่งออกอาหารทะเลแปรรูปทั่วโลก
แนวโน้มอุตสาหกรรมการผลิตอาหารทะเลแปรรูป
ในปี พ.ศ. 2566-2568 ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปโดยรวม คาดว่าจะมีแนวโน้มหดตัวเฉลี่ย ร้อยละ 0.5 ถึง 1.5 ต่อปี โดยวิเคราะห์การผลิตแยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่เย็นและแช่แข็ง: ปริมาณการผลิตคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 1.0 ถึง 2.0 ต่อปี
ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง: คาดว่าปริมาณการผลิตจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี
แนวโน้มการบริโภคอาหารทะเลแปรรูป
แนวโน้มปริมาณการบริโภคอาหารทะเลแปรรูปในประเทศ คาดว่าจะยังทรงตัวหรือทยอยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0 ถึง 0.5 ต่อปี โดยวิเคราะห์การผลิตแยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง: ปริมาณการบริโภคในประเทศคาดว่าจะหดตัวลงถึงร้อยละ1.0 ต่อปี
ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง: ปริมาณการบริโภคในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0-2.0 ต่อปี
แนวโน้มการส่งออกอาหารทะเลแปรรูป
แนวโน้มปริมาณส่งออกอาหารทะเลแปรรูปคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 2.0 ถึง 3.0 ต่อปี แยกตามผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง: ปริมาณส่งออกคาดว่าจะลดลงร้อยละ 2.0 ถึง 3.0 ต่อปี
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลกระป๋อง: ปริมาณส่งออกคาดว่าจะทรงตัวหรือลดลงร้อยละ 2.5 ถึง 3.5 ต่อปี
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปรุงสุกและปรุงรส: ปริมาณส่งออกคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 1.5 ถึง 2.5 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปของไทยยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก มาตรการกีดกันการนำเข้าด้านมาตรฐานสากล ความได้เปรียบของประเทศคู่แข่งจากสิทธิพิเศษทางภาษี ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมและภัยพิบัติจากธรรมชาติ รวมถึงการพัฒนาอาหารทะเลทางเลือก (Alternative Seafood)
The Thai seafood processing industry can be divided into two main segments. These are chilled and frozen seafood processing and canned, and processed and prepared seafood, which have higher added value of the processing of seafood. Thailand is the world’s 8th biggest exporter of processed seafood by volume and 14th most important by value, with respectively a 3.3% and 3.0% share of the global market.
Output from the Seafood Processing Industry Trends
Over the three years from 2023 to 2025, output from the Thai seafood processing industry is expected to contract by between -0.5% and -1.5% annually, analyzing by product group as follows:
· Chilled and frozen seafood: Production is forecast to slip by between -1.0% and -2.0% annually.
· Canned seafood: Output will stay flat or decline by up to -1.0% per year.
Domestic Consumption of Processed Seafood Trends
Domestic consumption of processed seafood is expected to stay flat or slightly increase up to 0.5% per year, analyzing by product group as follows:
Chilled and frozen seafood: The quantity of goods distributed to the domestic market is expected to decrease by 1.0% per year.
Canned fish: The forecast is for domestic consumption to rise by 1.0-2.0% per year.
Exports of Processed Seafoods Trends
Exports of processed seafoods are expected to decline at an annual rate of between 2.0% and 3.0%. These declines will affect different product groups as described below.
Chilled and frozen seafood: This is forecast to translate into an annual contraction of between 2.0% and 3.0% in overseas sales.
· Canned seafood: Exports expected to decrease 2.5-3.5% per year.
· Prepared and preserved seafood: Exports expected to decrease 1.5- 2.5% per year.
However, Thailand's processed seafood industry still faces many challenges including, Uncertainty in the global economy, barriers to trade and the imposition of international standards, the customs advantages enjoyed by Thailand’s competitors, shrinking fish stocks and dangers from natural disasters, as well as the development of new and alternative seafood products.