446 Views |
ผู้ผลิตเบียร์ต่างทราบดีว่า เบียร์เป็นเครื่องดื่มที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้เร็วที่สุด หากเบียร์สัมผัสกับออกซิเจนในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และก่อให้เกิดกลิ่นรสที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น ซึ่งเทรนด์ในการผลิตเบียร์โดยใช้วิธีการเติมฮอปส์แห้งที่ค้นพบใหม่พร้อมกับการเติมออกซิเจนนั้นจะทำให้เบียร์เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านรสชาติอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะไลท์เบียร์ที่มีความไวต่อออกซิเจนเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามดาร์กเบียร์มักจะมีรสชาติคงที่แม้จะสัมผัสกับออกซิเจนในปริมาณที่สูงกว่า 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร
การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพของเบียร์ที่โดดเด่นอย่างยั่งยืน
ในกระบวนการผลิตเบียร์ที่มีคุณภาพและได้รับความน่าเชื่อถือนั้น ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการช่วยลดปริมาณออกซิเจนให้ต่ำลง โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารกำจัดออกซิเจนที่มากเกินความจำเป็น ทั้งสารไบซัลไฟต์ หรือกรดแอสคอร์บิก ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตระบบบรรจุและบรรจุภัณฑ์ชั้นนำสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอาหารเหลว1 จึงพัฒนาระบบการเติมของเหลวที่สามารถเติมออกซิเจนได้ในระดับต่ำแบบที่ยังไม่เคยมีมาก่อน2
ออกซิเจนน้อยลง พร้อมกับการลดปริมาณการใช้ CO2
กระบวนการผลิตเบียร์รูปแบบใหม่นี้ช่วยให้เบียร์มีปริมาณออกซิเจนน้อยลง และลดปริมาณการใช้ CO2 ให้ต่ำกว่าการผลิตเบียร์ในรุ่นก่อน ในระหว่างการบรรจุเบียร์ลงในขวดผ่านหัวเติมลักษณะกลวงรูปแบบใหม่จะช่วยลดการใช้ CO2 ลงได้อย่างมาก อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสที่จะสัมผัสกับออกซิเจนได้ในอีกทางหนึ่งด้วย โดยภายในบรรจุภัณฑ์จะถูกทำให้เป็นสภาวะสุญญากาศก่อน แล้วจึงไล่อากาศออกด้วยก๊าซ CO2 จากนั้นบรรจุภัณฑ์จะถูกอัดให้มีแรงดันโดยการเติมก๊าซเฉื่อยตามปกติ ทำให้สามารถรับออกซิเจนโดยรวมในปริมาณที่ต่ำมากเพียง 20 ppb สำหรับปริมาณการใช้ CO2 60 กรัมต่อเฮกโตลิตร รวมถึง หากลดปริมาณการใช้ CO2 ลงเหลือ 110 กรัมต่อเฮกโตลิตร จะสามารถลดปริมาณการเติมออกซิเจนได้ต่ำมากที่ระดับ 40 ppb ดังนั้น จึงสามารถเลือกการเติมออกซิเจนทั้งหมดได้ตามความต้องการ ซึ่งหมายความว่า สามารถตั้งค่าระบบบรรจุตามประเภทของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายได้แบบอัตโนมัติ และลดการใช้ CO2 สูงสุดในเบียร์ที่มีความไวต่อออกซิเจนเป็นพิเศษ เช่น เบียร์เย็นและดาร์กเบียร์ หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กระบวนการบรรจุที่แตกต่างอย่างน้ำอัดลม เป็นต้น
Brewers are all too aware of the fact that beer is probably the beverage that reacts most sensitively to oxygen. What is known as the oxidation off-flavor occurs if there is too much oxygen pickup. Trend beers made using the rediscovered cold or dry hopping technique quickly alter their taste with oxygen pickup. Standard light beers are also especially sensitive to oxygen, however. Dark beers, on the other hand, often display considerable flavor tolerance to an oxygen content of above and beyond 0.1 mg/l.
Development of sustainable technologies for outstanding beer quality
In beer production breweries obtain reliable quality with a low oxygen content with the help of cutting-edge technology. First and foremost, this makes the use of additives such as bisulphite or ascorbic acid as oxygen scavengers superfluous. So, the world’s leading manufacturers of filling and packaging systems for the beverage and liquid food industries1 has developed filling technology that gives it low oxygen filling on a scale unprecedented in this form2.
Less oxygen, lower CO2 consumption
The new plant engineering lets less oxygen into the beer – and in doing so consumes not more but less CO2 than its predecessor. During bottle filling a new hollow probe filler enables greatly reduced CO2 consumption on the one hand and even lower oxygen pickup on the other. The container is first evacuated through the vacuum channel and then purged with CO2 gas. The container is then pressurized to filling pressure with the inert gas as usual. This makes an extremely low total oxygen pickup of 20 ppb possible at a CO2 consumption of 160 g/hl. Further reducing the CO2 consumption to 110 g/hl for example – half of what was usual to date – also facilitates a very low oxygen pickup of 40 ppb. The required total oxygen pickup can therefore be selected as needed, meaning that a range of automatic product type conversions can be set with maximum CO2 savings for an especially oxygen-sensitive, cold-hopped beer, a dark beer insensitive to oxygen or even for totally different filling products such as soda pop, for instance.