ผู้พิทักษ์ระบบทางเดินอาหาร: พลังของโพรไบโอติกเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน Gut Guardians: The Immune-Boosting Power of Probiotics

309 Views  | 

ผู้พิทักษ์ระบบทางเดินอาหาร: พลังของโพรไบโอติกเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน  Gut Guardians: The Immune-Boosting Power of Probiotics

ผู้พิทักษ์ระบบทางเดินอาหาร: พลังของโพรไบโอติกเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
Gut Guardians: The Immune-Boosting Power of Probiotics


  

วริษา ฝั้นธรรมครั้ง
Warisa Phanthamklang
Research and Development
Food Innovation and Packaging Center (FIN)

Chiang Mai University
ดร. พินพนิต บุญช่วย
Pinpanit Boonchuay, Ph.D.
Research and Development
Food Innovation and Packaging Center (FIN)
Chiang Mai University


รศ.ดร. ยุทธนา พิมลศิริผล
Assoc. Prof. Yuthana Phimolsiripol, Ph.D.
Director
Food Innovation and Packaging Center (FIN)
Chiang Mai University
fininfo.fin@gmail.com


     ระบบภูมิคุ้มกัน เกิดจากการทำงานร่วมกันของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ทั้งอวัยวะ เซลล์ และสารเคมี รวมถึงโปรตีนหลากหลายชนิด เพื่อทำหน้าที่ป้องกัน ทำลายเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมจากสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน โดยเฉพาะจุลินทรีย์ก่อโรค ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา และพยาธิ รวมถึงเซลล์ที่เกิดการแปรสภาพจนผิดปกติและก่อให้เกิดโรคขึ้น เช่น เนื้องอกและเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ ระบบภูมิคุ้มกันยังมีหน้าที่ตรวจสอบและสร้างกลไกการตอบสนองเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม ส่งผลให้ระบบภายในร่างกายสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ

โพรไบโอติก: สิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์
     จุลินทรีย์โพรไบโอติกในร่างกายมนุษย์ไม่ได้มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น แต่มีอยู่หลากหลายประเภท ซึ่งล้วนส่งผลดีต่อร่างกายแตกต่างกันไป โดยกลไกการทำงานของโพรไบโอติกที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย แบ่งออกเป็น 5 กลไก ดังนี้

1) การลดความเป็นกรดด่างภายในลำไส้

2) การแย่งจับตัวรับกับเชื้อก่อโรคและแย่งแหล่งอาหารจากเชื้อก่อโรค

3) การหลั่งสารต้านจุลชีพ (Antimicrobial substances)

4) การทำให้สารพิษไม่ออกฤทธิ์ (Toxin inactivation)

5) การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น Bifidobacterium ที่ช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T (T lymphocytes) และเซลล์เพชฌฆาต NK Cell (Natural killer cells) ส่งผลให้ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น

     ระบบภูมิคุ้มกันสามารถเสริมสร้างได้ด้วยจุลินทรีย์ชนิดดี เช่น Lactobacillus ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลเป็นกรดแลคติกและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โดยสารเหล่านี้สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคในลำไส้ เช่นเดียวกับจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ยังมีชีวิตและที่ตายแล้ว โดยการเกาะจับของโพรไบโอติกบริเวณผิวเซลล์เยื่อบุลำไส้แล้วปลดปล่อยสารออกมากระตุ้นเซลล์เยื่อบุซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของเซลล์ เช่น สารจำพวก Lipopolysaccharides (LPS) ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเซลล์เยื่อบุในการสร้างเยื่อเมือก เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการตอบสนองต่อวัคซีน และการติดเชื้อโรค นอกจากนี้ Lactic Acid Bacteria (LAB) บางสายพันธุ์ยังช่วยปิดช่องว่างระหว่างเซลล์ เพื่อป้องกันไม่ให้โปรตีนบางชนิดผ่านเข้าไปในเยื่อบุลำไส้ จึงสามารถกระตุ้นเยื่อบุลำไส้ให้เกิดการแบ่งตัวและช่วยรักษาอาการอักเสบต่างๆ ในลำไส้ ดังนั้น ไม่ว่าพืช สัตว์ หรือมนุษย์ต่างจำเป็นต้องมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี จึงจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งต้องรักษาสมดุลและหมั่นเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันด้วยการเลือกรับประทาน “โพรไบโอติก” อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

     The immune system arises from the collaboration of different systems within the body, including organs, cells, and chemicals, as well as various types of proteins. Its function is to defend against and destroy pathogens, and foreign substances from both external and internal environments, especially disease-causing microorganisms such as bacteria, viruses, parasites, fungi, and worms, as well as cells that have mutated and become abnormal, leading to diseases such as tumors and cancer cells. Additionally, the immune system is responsible for monitoring and creating response mechanisms to eliminate foreign substances, allowing the body's systems to return to normal operation.


Probiotics: Marvelous Microorganisms
     The probiotic microorganisms in the human body are not of a single type but come in various types, each benefiting the body in different ways. The mechanisms by which probiotics confer benefits on the body can be divided into five categories, as follows:

1) Reducing pH value of the intestines

2) Competing for receptors with pathogens and competing for nutrients from pathogens

3) Secretion of antimicrobial substances

4) Toxin inactivation

5) Stimulating the body's immune system, such as Bifidobacterium, which helps increase
T lymphocytes and Natural Killer (NK) cells, leading to an improved immune system

     The immune system can be enhanced with beneficial microorganisms, such as Lactobacillus, which convert sugar into lactic acid and hydrogen peroxide. These substances can help inhibit the growth of pathogenic microorganisms in the intestines, similar to both living and dead probiotic microorganisms. The colonization of probiotics to the surface of intestinal epithelium cell and the release of substances stimulates the cells, affecting their function, such as Lipopolysaccharides (LPS) that stimulate the secretion of mucus, boost the immune system, enhance vaccine responses, and fight infections. Moreover, some strains of Lactic Acid Bacteria (LAB) help close gaps between cells to prevent certain proteins from passing into the intestinal mucosa, thereby promoting the growth of the intestinal cell division, and helping to treat various inflammatory conditions in the intestines (Figure 3). Therefore, whether plants, animals, or humans, a good immune system is essential for survival. Maintaining balance and regularly enhancing the immune system by consuming “probiotics” is crucial for the immune system to function at its best.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and