“สารให้ความหวานแทนน้ำตาล” รู้ก่อนใช้ ปลอดภัยกว่า Artificial Sweeteners: Need to Know Before Using is Safer

554 Views  | 

“สารให้ความหวานแทนน้ำตาล” รู้ก่อนใช้ ปลอดภัยกว่า Artificial Sweeteners: Need to Know Before Using is Safer

By:  ดร. สิริวรรณ สุขนิคม 
Siriwan Suknicom, Ph.D.
Department of Food Science and Technology
Faculty of Agricultural Technology and Agro-Industry
Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi
siriwan.s@rmutsb.ac.th

 

การควบคุมการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล
   การควบคุมการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ General Standard for Food Additives (GSFA) ตามมาตรฐานของโคเด็กซ์ (Codex) ซึ่งสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะมีรหัส INS number เดียวกันกับของ Codex โดยปัจจุบัน มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับวัตถุเจือปนอาหาร จำนวน 5 ฉบับ คือ ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) ฉบับที่ 363 (พ.ศ. 2556) ฉบับที่ 372 (พ.ศ. 2558) ฉบับที่ 381 (พ.ศ. 2559) และฉบับที่ 389 (พ.ศ. 2561) และได้จัดกลุ่มวัตถุเจือปนอาหารตามหน้าที่ ออกเป็น 27 กลุ่ม โดยสารให้ความหวานแทนน้ำตาลถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 26 ซึ่งปริมาณการใช้งานที่เหมาะสมต้องพิจารณาจากหมวดหมู่อาหารที่มีทั้งหมด 17 หมวด หากต้องใช้สารให้ความหวานนอกเหนือจากที่ระบุไว้ตามประกาศกระทรวงฯ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาซึ่งต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยก่อน นอกจากนี้ ผู้บริโภคควรตรวจสอบข้อแนะนำหรือคำเตือนต่างๆ บนฉลากอาหารที่ผู้ผลิตได้ชี้แจงแก่ผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Aspartame เป็นสารให้ความหวาน ซึ่งในฉลากอาหารจะมีข้อความระบุว่า “ห้ามใช้ในสภาวะฟินิลคีโตนูเรียหรือในผู้ป่วยโรคดังกล่าว” ทั้งนี้ เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยโรคดังกล่าว ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกรดอะมิโนฟินิลอลานินซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของ Aspartame และทำให้เกิดพิษในร่างกายได้

   ปัจจุบัน ได้มีการศึกษาข้อมูลความปลอดภัยของสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเพิ่มเติม ซึ่งระบุถึงการบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งและไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขจะมีการพิจารณาข้อมูลความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ นำมาซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับต่างๆ เช่น การยกเลิกการผลิตนำเข้าและจำหน่าย สารให้ความหวานกลุ่มดัลซิน (Dulcin) หรือมีชื่อทางเคมีว่า Para-phenetolcarbamide และในปัจจุบันมีข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ซึ่งรายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล “Aspartame” และจัดประเภทให้สารดังกล่าวอยู่ในกลุ่ม “เป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง (Possibly carcinogenic)” ซึ่งอย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โดยหน่วยงานสาธารณสุขยังอยู่ในช่วงรวบรวมข้อมูลความปลอดภัยเพื่อประกาศควบคุมการใช้สารให้ความหวานกลุ่มนี้ต่อไป

Regulating the Use of Artificial Sweeteners
   Artificial Sweeteners are regulated by the General Standard for Food Additives (GSFA), following Codex standards with the same INS number as the Codex. At present, there are five issues from the Ministry of Public Health relating to food additives, namely, No. 281 (2004), No. 363 (2013), No. 372 (2015), No. 381 (2016), and No. 389 (2018) and grouped food additives into 27 groups, and sweeteners are classified in group 26, which the appropriate amount of use must be considered from all 17 food categories. Suppose you want to use sweeteners other than those specified in the Ministry of Public Health declaration, it must be approved by the Food and Drug Administration, which must pass a safety assessment first. Furthermore, consumers should check for any recommendations or warnings on food labels that manufacturers have clarified to consumers, such as products that use Aspartame as a sweetener, in which food labels will label "Do not use in phenylketonuria or patients with such diseases" due to the body of the patient with the disease is not possible to take advantage of the amino acid phenylalanine, which is one of the components of Aspartame and can cause poisoning in the body.

   The safety information of artificial sweeteners has been further studied, indicating that consuming certain sweeteners poses a cancer risk and is unsafe for consumers. The Ministry of Public Health will regularly assess safety data, leading to various announcements of the Ministry of Public Health. For example, the cancellation of the production, import, and sale of the sweetener group, Dulcin or the chemical name "Para-Phenetolcarbamide", and at present, there is information from the World Health Organization that reports on the health impact of sweetener "Aspartame" and classifies it as "Possibly carcinogenic". However, further studies are still needed, and public health authorities are still collecting safety data to announce additional restrictions on the use of this sweetener.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and