484 Views |
By: รศ.ดร.ทพญ. ดุลยพร ตราชูธรรม
Assoc. Prof. Dunyaporn Trachootham, Ph.D.
Institute of Nutrition
Mahidol University
dunyaporn.tra@mahidol.ac.th
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่มีบทบาทในการช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน นอกจากการได้รับวัคซีนที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อเชื้อโรคแล้ว การบริโภคอาหารที่มีสารอาหารจำเป็น รวมถึงการได้รับพลังงานที่เพียงพอจากอาหารหลัก 5 หมู่ จะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันจากโรคภัยต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน
ตัวอย่างสารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน
1. วิตามินเอ
2. วิตามินซี
3. วิตามินดี
4. สังกะสี
5. ซีลีเนียม
ทั้งนี้ นอกจากสารอาหารที่จำเป็นข้างต้นแล้ว ก็ยังมีสารสำคัญอื่นๆ ที่มีรายงานวิจัยว่ามีบทบาทในการส่งเสริมภูมิคุ้มกันได้ เช่น สารสกัดจากพืชและสัตว์ สารพฤกษเคมี กรดไขมันไม่อิ่มตัว และผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ เป็นต้น
แนวทางการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารอาหารในการช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน
1. ควรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเฉพาะกรณีที่ได้รับสารอาหารจากอาหารปกติไม่เพียงพอเท่านั้น หากรับประทานอาหารปกติครบ 5 หมู่เพียงพอแล้ว การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มเติม นอกจากจะไม่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดพิษจากการได้รับสารอาหารที่มากเกินไปได้อีกด้วย
2. การเสริมสารอาหารลงไปในผลิตภัณฑ์นั้น ควรเสริมเพียงเพื่อให้ได้รับปริมาณสารอาหารตามที่แนะนำต่อวัน (Dietary Recommended Intakes; DRIs) สำหรับบุคคลในช่วงวัยต่างๆ หรือ แต่ไม่ควรบริโภคเกินปริมาณสูงสุดที่ไม่ก่อพิษ (Upper limit; UL)
ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสู่การกล่าวอ้างทางสุขภาพด้านการส่งเสริมภูมิคุ้มกันควรเริ่มจากการศึกษาข้อมูลก่อนว่าจะใช้สารอาหารชนิดใด โดยอาจเลือกจากชนิดที่มีอยู่ใน Positive list ว่าสามารถกล่าวอ้างบทบาทในการส่งเสริมภูมิคุ้มกันได้ แล้วจึงออกแบบหรือพัฒนาสูตรอาหารให้มีปริมาณสารอาหารนั้นๆ อยู่ในผลิตภัณฑ์โดยมีค่าถึงเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดว่า ”เป็นแหล่งของ” หรือ “สูง” ได้ โดยหากต้องการใช้สารสำคัญอื่นที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีสารอาหารดังกล่าว ก็ควรศึกษาข้อมูลก่อนว่า วัตถุดิบอาหารหรือสารสำคัญชนิดใดที่มีรายงานวิจัยในมนุษย์และบทความปริทัศน์ที่มีการวิเคราะห์อภิมาน หรือผ่านการพิจารณารับรองจาก EFSA มาแล้วว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ก่อนออกแบบให้ผลิตภัณฑ์มีสารดังกล่าวในปริมาณเพียงพอที่จะให้ประสิทธิผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
COVID-19 Pandemic affects people around the world and drives consumers’ demand for immune-boosting food products. Vaccination can help protect against specific diseases at certain periods of time. However, one important strategy for sustainable protection is balanced-diet consumption from the 5 main food groups.
The Example of Immune-Boosting Nutrients
1. Vitamin A
2. Vitamin C
3. Vitamin D
4. Zinc
5. Selenium
Besides the above essential nutrients, other substances with immune-boosting effects include some plant and animal extracts, phytochemicals, unsaturated fatty acids, and probiotic products.
Application of Nutrient Supplements for Immune Boosting
1. Use dietary supplements only when the consumption of regular food cannot meet the demand for such nutrients. A nutrient supplement will not be beneficial if a balanced diet has been consumed adequately. Instead, excessive consumption of nutrients may increase the risk of toxicity.
2. The amount of dietary supplements taken should be aimed to meet the Dietary recommended intake (DRIs) for people of different ages and gender. However, it should not exceed the Upper limit (UL) of such nutrients.
However, for research and development of food products with immune-boosting claims, we shall start by selecting the nutrients with immune claims on the positive list of Thai FDA. Then, we shall design the product formula to contain such nutrients at the levels that can be considered as “a source of” or “high”. In case of using the other essential substances that are not on the positive list as mentioned above, we shall start by selecting the active ingredients with published clinical trials and systemic review with meta-analysis or have been approved by EFSA for its immune function claims. Then, we shall design the product formula to contain such ingredients in the amount adequate to provide such immune-promoting function.