695 จำนวนผู้เข้าชม |
Translated and Compiled By: กันต์ธร หลีนวรัตน์
Kunthorn Leenavarat
Assistant Editor
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com
เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.7 ต่อปี และเริ่มทยอยฟื้นตัวร้อยละ 5.3 จากการหดตัวของเศรษฐกิจในปี 2563 เนื่องจากปัจจัยหนุนหลายปัจจัย ได้แก่ การขยายตัวของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าของโลก รวมถึงการบริโภคของภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง โดยมีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 3 ในเดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา การวางมาตรการและออกกฎหมายควบคุมการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ กฎหมายอนามัยอาหาร กฎหมายควบคุมโรคติดเชื้อในสัตว์ กฎหมายคุ้มครองพืช และกฎหมายการติดฉลากอาหาร เพื่อความปลอดภัยทางด้านอาหารในช่วงที่เศษฐกิจกำลังฟื้นตัว
1. กฎหมายอนามัยอาหาร
เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมด้านความปลอดภัยของอาหาร และเครื่องดื่มในประเทศญี่ปุ่น โดยการบังคับใช้กฎหมาย และมาตรการต่างๆ นั้นเพื่อสุขภาพที่ดีของประชากร ซึ่งเป็นการกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ (Ministry of Health, Labor and Welfare; MHLW)
2. กฎหมายควบคุมโรคติดเชื้อในสัตว์
เป็นกฎหมายที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมโรคติดเชื้อในสัตว์ ส่งเสริมอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และป้องกันการระบาดหรือแพร่กระจายของโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นในสัตว์ โดยในกฎหมายนี้จะกล่าวถึงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายควบคุมโรคติดเชื้อในสัตว์ พร้อมกับรายชื่อของโรคติดเชื้อที่ต้องตรวจติดตาม
3. กฎหมายคุ้มครองพืช
เป็นกฎหมายภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง โดยมีบทบัญญัติคล้ายกับกฎหมายควบคุมโรคติดเชื้อในสัตว์เพียงแต่เป็นพืช
4. กฎหมายการติดฉลากอาหาร (Food Labeling Act)
เป็นกฎหมายที่มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมการติดฉลากอาหารให้มีการแสดงฉลากอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการปกป้อง และส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภค ให้มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภค และช่วยให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้ออาหาร ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Affairs Agency หรือ CAA) และจากกฎหมายนี้ทำให้การแสดงฉลากอาหารของสินค้านำเข้าต้องระบุข้อมูลที่กำหนดบนฉลากให้ชัดเจน
The Japanese economy expanded by an average of 1.7% annually, following a 5.3% GDP contraction during the 2020 recession. Several factors will support growth. The main factors are exports would expand in line with the recovery in the world economy and global trade. Add with household consumption would improve backed by a strong labor market (unemployment rate was just 3% in September). However, rising household savings point to a fragile recovery.
1. Food Sanitation Act
The Food Sanitation Act was used to manage food and beverage safety in Japan, targeting to take care of the Japanese population's health. This Act is in charge by the Ministry of Health, Labor, and Welfare.
2. Act on Domestic Animal and Aquatics Animals Infectious Disease Control
This Act is controlled by the Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries, which related to preventing infectious disease in livestock that covers the Government Ordinance for Enforcement of the Act on Domestic Animal Infectious Diseases Control (Government Ordinance No. 235, 1953) and the list of monitored infectious disease for both livestock and aquatic animals.
3. Plant Protection Act
The Plant Protection Act is also legislated by the Ministry of Agriculture, Forestry, and Fisheries, which is similar to the Act on Domestic Animal Infectious Disease Control but focuses on plants.
4. Food Labeling Act
The Food Labeling Act is the regulation for labeling food products properly, supporting and protecting consumer health to ensure that food products are safe to consume. It provides information for consumer consideration to buy or not. This Act was under the Consumer Affairs Agency; CAA), and from this regulation, imported food must declare this information clearly.