549 จำนวนผู้เข้าชม |
By: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทศพร นามโฮง
Assistant Professor Tosporn Namhong
Visiting Lecturer
Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi
tnamhong@hotmail.com
ข้อมูลสถิติรายงานว่า คนไทยอ้วนสูงสุดเป็นอันดับ 2 จากทั้งหมด 10 ประเทศในอาเซียน เป็นรองก็แต่ประเทศมาเลเซียเท่านั้น และ 1 ใน 3 ของประชากรไทยมีภาวะน้ำหนักเกิน โดยภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วน ตามคำนิยามของ World Health Organization (WHO) คือภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมมากเกินระดับปกติจนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ
อย่างไรที่เรียกว่าอ้วน ดัชนีหรือตัวบ่งชี้ที่บอกว่าอ้วน มีดังนี้
1. การใช้ค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) ซึ่งเป็นค่าที่ได้จากการนำน้ำหนักมาหารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ถ้าค่านี้มากกว่า 25 ถือว่าอ้วน แต่สำหรับคนเอเชีย ค่าที่ถือว่าปกติต้องไม่เกิน 22.9 ถ้ามีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 23 ถือว่าเริ่มอ้วน และมีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น และถ้าดัชนีมวลกายมากกว่า 40 ถือว่าเป็นโรคอ้วนรุนแรงมากและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพสูงสุด
หมายเหตุ การใช้ค่า BMI เป็นดัชนีอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะสำหรับนักกีฬาที่มีกล้ามเนื้อมาก จะทำให้มีน้ำหนักมาก และเมื่อนำมาคำนวณ BMI เปรียบเทียบกับผู้ที่มีไขมันมาก และมีน้ำหนักเท่ากัน ส่วนสูงเท่ากัน จะทำให้ค่า BMI ที่ออกมามีค่าเท่ากัน ซึ่งคนที่มีไขมันมากนั้น จะดูอ้วนมากกว่าคนที่มีกล้ามเนื้อมาก ดังนั้นต้องใช้ดัชนีอื่นๆ มาพิจารณาร่วมด้วย
2. การใช้เกณฑ์เส้นรอบพุง สำหรับผู้ชายไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร และผู้หญิงไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร หรือไม่ควรเกินส่วนสูงหารด้วยสอง
3. การใช้อัตราส่วนเอวต่อสะโพก (Waist Hip Ratio; WHR) ผู้ชายไม่ควรเกิน 0.9 และผู้หญิงไม่ควรเกิน 0.8 หากมีค่ามากกว่าค่าดังกล่าวจะมีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังสูงขึ้น
In terms of obesity, the Thai population statistically ranks second among the ten ASEAN countries, while Malaysia occupies the first spot. One thirds of Thai people are overweight. According to the World Health Organization (WHO), obesity or overweight is a condition in which there is an excessive and unhealthy accumulation of fat in the body.
How to determine obesity? The obesity indexes or indicators are as follows:
1. Body Mass Index (BMI) is a value obtained by dividing a person’s weight by the square of the body height (meter). The result that exceeds 25 indicates obesity. For Asian people, the figure should not exceed 22.9, and a value that is equal to or exceeds 23 is a sign of obesity, which can heighten the risks of other diseases. The BMI higher than 40 points to very severe obesity and entails highest health risks.
Remark: The use of the BMI as an obesity measurement tool may not suffice because more muscle mass, such as those in athletes, contributes to more weight and may yield the same BMI as that of an overweight individual who has similar weight and height but with more body fat. A person with more body fat appears to have more rotund body than a muscular person. Therefore, other indexes should also be taken into consideration.
2. Waist circumference should not exceed 90 and 80 centimeters for men and women, respectively. In other words, it should not exceeds the body height divided by two.
3. Waist-hip Ratio (WHR) should not exceed 0.9 and 0.8 for men and women, respectively. Anything higher than said values lead to higher risks of chronic diseases.