Thailand’s Upcoming Salinity Tax Imposes a New Challenge for the High-sodium Food Sector

466 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Thailand’s Upcoming Salinity Tax Imposes a New Challenge for the High-sodium Food Sector

By:       Sukittima Nitrasrisamoot

            Writer

            Food Focus Thailand Magazine


            ขณะนี้ภาครัฐอยู่ในระหว่างพิจารณากำหนดแนวทางการจัดเก็บภาษีความเค็ม และคาดว่าน่าจะประกาศแนวทางปฏิบัติในปี 2565 เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับปรุงการผลิต ก่อนที่จะกำหนดวันเริ่มบังคับใช้ในระยะต่อไป โดยจะพิจารณาจากความพร้อมของผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมถึงภาวะเศรษฐกิจประกอบไปด้วย ทั้งนี้เป้าหมายหลัก คือเพื่อลดการบริโภคโซเดียมของคนไทย ซึ่งจากงานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย1 พบว่า การบริโภคโซเดียมเฉลี่ยของคนไทย อยู่ที่ 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ ในปริมาณไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ถึงเกือบ 2 เท่า ซึ่งการบริโภคโซเดียมมากเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโรคไตเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน โดยประมาณการค่ารักษาพยาบาลของ 5 กลุ่มโรคข้างต้นอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี2 หรือคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 4 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมดของประเทศ (ประมาณ 4 แสนล้านบาท)

            The Thai government is planning a guideline on salt taxation, which is to be announced in 2022. A reasonable period of operational adjustment is expected to precede the enforcement date of the policy to allow for food operators to conduct any necessary preparation for the change. The operators’ and consumers’ preparedness, along with the economic conditions, will be taken into consideration. The main objective is to reduce sodium consumption among Thai consumers. According to research conducted by the Thai Health Promotion Foundation (THPF) and the Nephrology Society of Thailand1, the average sodium intake in the Thai population is at 3,636 mg per day, which is almost double the daily amount of 2,000 mg recommended by WHO. Excessive sodium consumption may contribute to several NCDs, such as chronic kidney disease, hypertension, heart disease, stroke, and diabetes. The medical expenses derived from these five categories of illness are estimated to be at least THB 100 billion per year2, making up almost one-fourth of the country’s total medical expenses of THB 400 billion.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้